ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์ |
นักวิจัย | : | คันธิยา วงศ์จันทา |
คำค้น | : | ละครโทรทัศน์ไทย , รายการโทรทัศน์ -- ไทย -- การประเมิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กาญจนา แก้วเทพ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | 9746393472 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12304 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์ โดยเก็บข้อมูลจาก 3 แหล่งคือ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการผลิตละครโทรทัศน์ที่มีคุณภาพจากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตละครโทรทัศน์ ใช้การสัมภาษณ์ฝ่ายผู้ผลิต ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ ผู้จัดละคร และผู้เขียนบท, การสนทนากลุ่มผู้ชมละครโทรทัศน์เกี่ยวกับความคิดเห็นและความต้องการของผู้ชมต่อเนื้อหาและคุณภาพของละครโทรทัศน์ และการวิเคราะห์เนื้อหาของละครโทรทัศน์ 10 เรื่อง แนวคิดที่ใช้ คือ การประเมินผลการทำงานของสื่อ กระบวนการผลิตรายการละครโทรทัศน์ องค์ประกอบของละครโทรทัศน์และบทบาทหน้าที่ทางสังคมของละครโทรทัศน์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยทั้ง 3 ประการซี่งมีผลต่อกระบวนการผลิตละครโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ คือ สถานีโทรทัศน์ ผู้จัดละคร และผู้อุปกรณ์รายการนั้น นโยบายของสถานีโทรทัศน์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อคุณภาพของละครโทรทัศน์ สำหรับเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์ทั้ง 11 เกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เกณฑ์ที่บ่งชี้คุณภาพของละครโทรทัศน์ที่ดีที่สุด คือ เกณฑ์ทางด้านความเป็นมืออาชีพของผู้จัดละคร ซึ่งมาจากการสั่งสมประสบการณ์ส่วนตัวและแบบองค์กรในการผลิตละครโทรทัศน์มากกว่าการเป็นผู้ที่เรียนจบโดยตรงทางด้านละคร และเกณฑ์เรื่องความประณีตและคุณภาพของกระบวนการผลิตละครโทรทัศน์อันหมายถึง นโยบายการผลิตละคร การเลือกเรื่อง การคัดเลือกตัวแสดง ความพิถีพิถันในกระบวนการผลิตความถูกต้องสมจริงและการเลือกเพลงประกอบของผู้จัดละคร ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะมีผลต่อคุณภาพของละครโทรทัศน์ที่ปรากฏออกมา ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐานความเป็นต้นแบบ ในเรื่องของความแปลกใหม่ ความไม่ยึดติดกับเนื้อหาเก่า และเกณฑ์คุณค่าทางจริยธรรมและการเมืองของเนื้อหายังพบไม่มากในเนื้อหาของละครโทรทัศน์ สำหรับความคิดเห็นและความต้องการของผู้ชมต่อเนื้อหาและคุณภาพของละครโทรทัศน์นั้นผู้ชมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า เนื้อหาของละครโทรทัศน์ยังคงมีเนื้อหาแบบเก่าๆ และยังไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร จึงต้องการให้มีเนื้อหาที่หลากหลายมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนทางด้านเทคนิคต่างๆ ในกระบวนการผลิตนั้นได้มีการพัฒนามากขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
คันธิยา วงศ์จันทา . (2541). การพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คันธิยา วงศ์จันทา . 2541. "การพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คันธิยา วงศ์จันทา . "การพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. Print. คันธิยา วงศ์จันทา . การพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้คุณภาพรายการละครโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
|