ชื่อเรื่อง | : | ผลของสารสกัดจากใบสาบเสือ Chromolaena odorata (L.) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก Plutella xylostella L. |
นักวิจัย | : | มนัญญา เพียรเจริญ |
คำค้น | : | หนอนใยผัก , สาบเสือ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จริยา เล็กประยูร , สุรพล วิเศษสรรค์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746368184 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12154 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 จากการศึกษาผลของสารสกัดจากใบสาบเสือที่มีต่อการตายของหนอนใยผัก พบว่าสารสกัดจากใบสาบเสือโดยวิธีการหมักซึ่งมีน้ำเป็นตัวทำละลายและวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำมีผลต่อการตายของหนอนใยผักน้อยมาก สำหรับสารสกัดจากใบสาบเสือที่สกัดโดยวิธีการสกัดซอกซ์เลตซึ่งมี ethanol และ hexane เป็นตัวทำละลายมีผลต่อการตายของหนอนใยผัก 100% ที่ความเข้มข้น 1.50 และ 2.00%(w/v) ในการศึกษาผลของสารสกัดจากใบสาบเสือต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก เลือกสารสกัดจากใบสาบเสือโดยวิธีการสกัดซอกซ์เลตซึ่งมี ethanol เป็นตัวทำละลาย ผลของสารสกัดใบสาบเสือ Chromolaena odrata (L.) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก Plutella xylostella L. โดยเลี้ยงด้วยคะน้าชุบสารสกัดจากใบสาบเสือความเข้มข้น 0.05, 0.25 และ 0.50% (w/v) และสารสกัดจากใบสาบเสือดังกล่าวผสมกับ synergists 3 ชนิด คือ diethyl maleate(DEM), piperonyl butoxide(PB) และ triphenyl phosphate (TPP) ความเข้มข้น 0.1% เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของระดับ esterase, glutathione S-transferase และ monooxygenase ของหนอนใยผัก รุ่นที่ 1 รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากใบสาบเสือทำให้ระดับ esterase เพิ่มขึ้นประมาณ 20, 40 และ 90% ที่ความเข้มข้น 0.05, 0.25 และ 0.50% ระดับ glutathione S-transferase เพิ่มขึ้นประมาณ 5 และ 20% ที่ความเข้มข้น 0.25 และ 0.50% ระดับ monooxygenase เพิ่มขึ้นประมาณ 10 และ 30% ที่ความเข้มข้น 0.25 และ 0.50% สำหรับผลการทดลองสารสกัดจากใบสาบเสือผสมกับ synergists พบว่า DEM ทำให้ระดับ glutathione S-transferase ลดลงประมาณ 5% ส่วน PB มีผลต่อระดับ esterase และ monooxygenase ลดลงประมาณ 10% สำหรับ TPP มีผลทำให้ระดับ esterase ลดลงประมาณ 10-20% จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบสาบเสือมีผลต่อการตายของหนอนใยผักและการเปลี่ยนแปลงของระดับ esterase, glutathione S-transferase และ monooxygenase นอกจากนี้การใช้ DEM, PB และ TPP เป็นสารที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบสาบเสือในกรณีที่หนอนใยผักต้านทานต่อสารสกัดจากใบสาบเสือในอนาคต |
บรรณานุกรม | : |
มนัญญา เพียรเจริญ . (2539). ผลของสารสกัดจากใบสาบเสือ Chromolaena odorata (L.) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก Plutella xylostella L..
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มนัญญา เพียรเจริญ . 2539. "ผลของสารสกัดจากใบสาบเสือ Chromolaena odorata (L.) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก Plutella xylostella L.".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มนัญญา เพียรเจริญ . "ผลของสารสกัดจากใบสาบเสือ Chromolaena odorata (L.) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก Plutella xylostella L.."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. มนัญญา เพียรเจริญ . ผลของสารสกัดจากใบสาบเสือ Chromolaena odorata (L.) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ขจัดพิษของหนอนใยผัก Plutella xylostella L.. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|