ชื่อเรื่อง | : | ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน ต่อปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ของผู้สูงอายุ |
นักวิจัย | : | อภิชาติ ไตรแสง |
คำค้น | : | การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ , หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ลาวัณย์ สุกกรี , เจริญทัศน์ จินตนเสรี , นพรัตน์ ธนะชัยขันธ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746365088 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11986 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักของงานแตกต่างกันต่อปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวขณะพักสูงแบบก้ำกึ่งและไขมันในเลือดสูงร่วมกัน มีอายุระหว่าง 60-70 ปี จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 15 คน เป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม ทำการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายที่กำหนดไว้เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ นำข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก มวลของร่างกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย และคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบทางเดียว ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของตูกี ผลการวิจัย พบว่า 1. การออกกำลังกายแม้จะมีความหนักของงานแตกต่างกันก็ทำให้คะแนนอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโคโรนารี่ลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ดังนี้ กลุ่มฝึกที่ระดับความหนักของงาน 50-55 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุดทำให้ความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวขณะพัก และอัตราส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลรวมกับไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงลดลง ส่วนไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงเพิ่มขึ้น กลุ่มฝึกที่ระดับความหนักของงาน 60-65 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุดทำให้อัตราส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลรวมกับไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงลดลง ส่วนไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงเพิ่มขึ้น กลุ่มฝึกที่ระดับความหนักของงาน 70-75 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุดทำให้คอเลสเตอรอลรวม ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำและอัตราส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลรวมกับไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงลดลง ส่วนไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงเพิ่มขึ้น 2. กลุ่มฝึกที่ระดับความหนักของงาน 60-65 และ 70-75 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสำรองสูงสุดทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น ส่วนความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวขณะพัก ไตรกลีเซอไรด์ อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก มวลของร่างกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระหว่างทั้ง 4 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
บรรณานุกรม | : |
อภิชาติ ไตรแสง . (2539). ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน ต่อปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ของผู้สูงอายุ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิชาติ ไตรแสง . 2539. "ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน ต่อปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ของผู้สูงอายุ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อภิชาติ ไตรแสง . "ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน ต่อปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ของผู้สูงอายุ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. อภิชาติ ไตรแสง . ผลของการออกกำลังกายที่มีความหนักของงานแตกต่างกัน ต่อปัจจัยเสี่ยงปฐมภูมิโรคหัวใจโคโรนารี่ ของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|