ชื่อเรื่อง | : | กระบวนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกโดยใช้แนวทาง R&M |
นักวิจัย | : | ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร |
คำค้น | : | พลาสติก , พลาสติก -- แม่พิมพ์ , การออกแบบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมชาย พัวจินดาเนตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741798334 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11740 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกระบวนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ของโรงงานตัวอย่างในปัจจุบันกับกระบวนการตามแนวทางความเชื่อมั่นในการใช้งาน และความสามารถในการธำรงรักษา (Reliability and Maintainability, R&M) (2) เสนอแนวทางปรับปรุงระบบการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกตามแนวทาง R&M การวิจัยได้ใช้แนวทาง R&M ซึ่งอ้างอิงตามสมาคมวิศวกรยานยนต์ (Society of Automotive Engineers, SAE) และศูนย์วิทยาศาสตร์การผลิตแห่งชาติ (National Center for Manufacturing Sciences, NCMS) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงกิจกรรม ได้แก่ ช่วงแนวคิดและข้อเสนอ ช่วงออกแบบและพัฒนา ช่วงสร้างและติดตั้ง ช่วงใช้งานและสนับสนุน และ ช่วงปรับเปลี่ยนหรือยกเลิก จากนั้นทำการตรวจสอบระบบที่ออกแบบไว้โดยสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยว ข้องกับระบบ ได้แก่ ผู้สร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ผู้ใช้งานแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และผู้เชี่ยวชาญด้าน R&M สุดท้ายทำการศึกษาเปรียบเทียบแม่พิมพ์ตัวอย่างที่ออกแบบโดยระบบปัจจุบันและ ระบบ R&M โดยประเมินจากค่าใช้จ่ายตลอดอายุแม่พิมพ์ จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกในปัจจุบันมีความแตกต่างจาก แนวทาง R&M คือ (1) ไม่มีการคำนึงอัตราการขัดข้องเสียหาย ระยะเวลาของการซ่อมคืนสภาพ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตลอดอายุของแม่พิมพ์ (2) ไม่มีการติดตามผลการใช้งานของผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการแก้ไขปรับ ปรุงแม่พิมพ์ สำหรับผลการประเมินระบบที่นำเสนอจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญพบ ว่า (1) เห็นด้วยกับระบบที่นำเสนอและสอดคล้องกับแนวทาง R&M (2) ระบบที่นำเสนอ มีประโยชน์ในการทำให้แม่พิมพ์ที่ออกแบบและสร้างมีความเชื่อมั่นในการใช้งาน และความสามารถในการธำรงรักษาเพิ่มขึ้น สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบแม่พิมพ์ตัวอย่างที่ออกแบบโดยระบบปัจจุบันและระบบ R&M พบว่า (1) ที่รอบการฉีดตั้งแต่ 258,320 ขึ้นไประบบ R&M จะเกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบปัจจุบัน (2) ร้อยละของค่าเสียโอกาสทางการผลิตที่มีค่าเกิน 10% ของมูลค่าปัจจุบัน ระบบ R&M จะเกิดค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบปัจจุบัน (3) ร้อยละของค่าซ่อมเฉลี่ยต่อครั้งที่เพิ่มขึ้น 2% ขึ้นไปจะมีผลทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในระบบปัจจุบันที่สูงกว่าระบบ R&M อย่างมาก |
บรรณานุกรม | : |
ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร . (2545). กระบวนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกโดยใช้แนวทาง R&M.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร . 2545. "กระบวนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกโดยใช้แนวทาง R&M".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร . "กระบวนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกโดยใช้แนวทาง R&M."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร . กระบวนการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกโดยใช้แนวทาง R&M. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|