ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล : รายงานการวิจัย |
นักวิจัย | : | เจนนุช ว่องธวัชชัย , พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ , มินตรา ลักขณา |
คำค้น | : | ปลานิล , ขมิ้นชัน , ปลา -- อาหาร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ , สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11731 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | สารสกัดจากขมิ้นชัน Curcuma longa L. (curcuminoids) มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านจุลชีพ เป็นต้น การศึกษานี้เป็นการพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล (Oreochromis nilotica) เนื่องจากปลานิลเป็นปลาน้ำจืดที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน สารสกัดขมิ้นชันสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียแอโรโมนาส (Aeromonas hydrophila) จากการทดสอบค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดขมิ้นชัน (Minimum lnhibitory Concentration. MIC) ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแอโรโมนาส จำนวน 43 isolates ที่แยกจากปลานิลป่วย ความเข้มข้นของสารสกัดขมิ้นชันที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ คือ <50 – 800 ppm โดยแสดงค่า MIC[subscript50] เท่ากับ 500 ppm และค่า MIC[subscript90] เท่ากับ 800 ppm จากการประสิทธิภาพของสารสกัดขมิ้นชันในห้องปฏิบัติการแสดงผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อแอโรโมนาสที่แยกได้จากปลานิลป่วย จึงพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันขนาด 500 ppm และ 1,000 ppm เพื่อเลี้ยงปลานิล การวิเคราะห์ปริมาณของสารสกัดขมิ้นชันและสารสำคัญ ได้แก่ curcumin, demethoxycurcumin และ bisdemethoxycurcumin ในสารสกัดขมิ้นชันที่เตรียมเป็นสูตรพรีมิกซ์ ด้วยวิธี High Performance Liquid Chromatography (HPLC) พบว่ามีปริมาณ curcuminoids รวม 99.42% และสาระสำคัญเท่ากับ 72.29%, 23.50% และ 3.63% ตามลำดับ นอกจากนี้การทดสอบความคงตัวของพรีมิกซ์ขมิ้นชันที่ผสมอาหารด้วยวิธี HPLC พบปริมาณของสารสกัดขมิ้นชันในเม็ดอาหารหลังจากที่เม็ดอาหารปลาสัมผัสกับน้ำเป็นเวลา 60 นาทีลดลงเหลือ 60% การทดสอบประสิทธิภาพของพรีมิกซ์ขมิ้นชันผสมอาหารเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล ทำการทดลองในลูกปลานิลน้ำหนักประมาณ 0.08 – 0.1g ได้รับอาหารผสมพรีมิกซ์ขมิ้นชันขนาด 500 ppm หรือ 1,000 ppm ต่อปริมาณอาหาร เป็นเวลา 14 วัน กลุ่มที่ได้รับอาหารผสมขมิ้นชันขนาด 500 ppm หรือ 1,000 ppm มีอัตราการแลกเนื้อ (Feed Conversion Ratio) และประสิทธิภาพการ ใช้อาหาร (Feed Efficiency) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับอาหารปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้พบว่าลูกปลานิลที่ได้รับอาหารผสมพรีมิกซ์ขมิ้นชันมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น อัตรารอดและอัตราการเจริญเติบโตต่อวันโดยเฉลี่ยดีกว่ากลุ่มควบคุม ผลการศึกษาแสดงว่าพรีมิกซ์ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล อย่างไรก็ตามการพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ควรมีการประเมินด้านความคงตัวของพรีมิกซ์ขมิ้นในอาหารและความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ |
บรรณานุกรม | : |
เจนนุช ว่องธวัชชัย , พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ , มินตรา ลักขณา . (2552). การพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล : รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจนนุช ว่องธวัชชัย , พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ , มินตรา ลักขณา . 2552. "การพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล : รายงานการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เจนนุช ว่องธวัชชัย , พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ , มินตรา ลักขณา . "การพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล : รายงานการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. เจนนุช ว่องธวัชชัย , พรชัย โรจน์สิทธิศักดิ์ , มินตรา ลักขณา . การพัฒนาสูตรพรีมิกซ์ขมิ้นชันเพื่อเป็นสารเสริมสุขภาพปลานิล : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|