ชื่อเรื่อง | : | การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์ |
นักวิจัย | : | มณีรัตน์ องค์วรรณดี |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก , โซเดียมโบโรไฮไดรด์ , การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้า , โรงงานชุบโลหะ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743336419 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11705 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 ศึกษาแนวทางในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะ โดยการใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์ ในรูปของสารละลายที่เป็นด่าง (SBH) ความเข้มข้น 1.2% ของ NaBH4 ใน 4% ของ NaOH กำจัดโลหะหนักที่ละลายในน้ำเสีย 4 ประเภท ได้แก่ น้ำเสียจากการชุบทองแดง น้ำเสียจากการชุบนิกเกิล น้ำเสียจากการชุบโครเมียมและน้ำเสียรวม ซึ่งเป็นน้ำเสียจริงที่ได้จากโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า จากการทดลองพบว่า การบำบัดน้ำเสียจากการชุบทองแดงที่มีความเข้มข้น 550 มก./ล. ทำได้โดยการปรับพีเอชของน้ำเสียด้วยด่างให้มีพีเอชอยู่ในช่วง 4 ถึง 5 แล้วจึงเติม NaHSO3 5 เท่าของทองแดง และเติม SBH จนได้พีเอชสุดท้ายประมาณ 7 จะสามารถกำจัดทองแดงทั้งหมดได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง นอกจากนี้การใช้ปูนขาวปรับพีเอช จะมีผลให้ทองแดงทั้งหมดที่เหลือในน้ำต่ำกว่า 1 มก./ล. ได้ น้ำเสียจากการชุบนิกเกิลที่มีความเข้มข้น 380 มก./ล. ให้ปรับพีเอชของน้ำเสียเท่ากับ 8.5 ด้วยด่าง แล้วจึงเติม NaHSO3 0.5 เท่าของนิกเกิล และเติม SBH จนได้พีเอชสุดท้ายประมาณ 9 จะสามารถกำจัดนิกเกิลละลายได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง น้ำเสียจากการชุบโครเมียม มีความเข้มข้น โครเมียม นิกเกิล ทองแดง และสังกะสี เท่ากับ 1460 180 145 และ 90 มก./ล. ตามลำดับ การบำบัดขั้นแรกให้ทำปฏิกิริยากับ NaHSO3 3 เท่าของโครเมียม หลังจากนั้นปรับพีเอชของน้ำเสียเป็น 8 ด้วยด่าง เติม SBH ให้ได้พีเอชสุดท้ายประมาณ 9 จะสามารถกำจัดโลหะหนักทุกชนิดที่ละลายในน้ำได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง น้ำเสียรวมมีความเข้มข้นนิกเกิล ทองแดง โครเมียม สังกะสี และเหล็ก เท่ากับ 1660 770 250 160 และ 140 มก./ล. ตามลำดับ มีขั้นตอนการบำบัดเช่นเดียวกับน้ำเสียจากการชุบโครเมียม โดยใช้ปริมาณ NaHSO3 1 เท่าของโครเมียม จากนั้นปรับพีเอชของน้ำเสียเป็น 8 ด้วยด่าง เติม SBH จนได้พีเอชประมาณ 9.2 ถึง 9.5 จะสามารถกำจัดโลหะหนักทุกชนิดที่ละลายในน้ำได้ตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการบำบัดน้ำเสียด้วย SBH สำหรับน้ำเสียจากการชุบทองแดง การชุบนิกเกิล การชุบโครเมียม และน้ำเสียรวม คิดเป็นเงิน 133 247 446 และ 541 บาทต่อน้ำเสีย 1 ลบ.ม. ตามลำดับ ซึ่งแยกเป็นค่าสารเคมีเท่ากับ 106 242 335 และ 384 บาทตามลำดับ และเป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดตะกอนเท่ากับ 27 5 111 และ 157 บาทตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
มณีรัตน์ องค์วรรณดี . (2542). การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มณีรัตน์ องค์วรรณดี . 2542. "การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มณีรัตน์ องค์วรรณดี . "การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. มณีรัตน์ องค์วรรณดี . การกำจัดโลหะหนักออกจากน้ำเสียโรงงานชุบโลหะ โดยใช้โซเดียมโบโรไฮไดรด์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|