ชื่อเรื่อง | : | การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
นักวิจัย | : | อัจฉรา ทิพย์มณี |
คำค้น | : | การใช้ที่ดิน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , เมือง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , ผังเมือง -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จารุวรรณ ลิมปเสนีย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741720203 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11599 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้เป็นการสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เพื่อจำแนกและลำดับความสำคัญของชุมชนเมือง ประกอบการวางแผนโครงข่ายเมืองศูนย์กลาง ศึกษาเทศบาลในพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ จำนวน 73 เทศบาล ประกอบด้วย เทศบาลเมือง 6 แห่ง เทศบาลตำบล 67 แห่ง เทคนิคที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับภาค และระดับชุมชนเมือง การวิเคราะห์ระดับภาคศึกษาในระดับจังหวัด จำนวน 19 จังหวัด โดยใช้ตัวแปรทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจประชากรและสังคม จำนวน 17 ตัวแปร ผลจากการวิเคราะห์พบว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียง เหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการพัฒนาสูงมาก ล้วนแต่เป็นจังหวัดที่ได้รับการพัฒนาจากรัฐบาล และมีแกนการพัฒนาหลักของภาคอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และมีแกนการพัฒนาระดับรองในแนวตะวันตก-ตะวันออก ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาที่เกิดจากเมืองหลักของภาคไปยังเมืองชายแดนทางด้าน ตะวันออก มี 2 แนว คือ ทางตอนบนของภาค และทางตอนล่างของภาค ลักษณะดังกล่าวทำให้พื้นที่ตอนกลางของภาค ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาถูกละเลยและไม่ได้รับการส่งเสริมการพัฒนาสำหรับการ วิเคราะห์ระดับชุมชนเมือง ใช้ตัวแปรจำนวน 13 ตัวแปร วิเคราะห์ทางด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ และด้านโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนเมืองสามารถจำแนกและจัดกลุ่มค่าคะแนนระดับ ความเป็นเมืองเพื่อลำดับศักยภาพชุมชนเมือง พบว่า ชุมชนเมืองที่มีระดับความเป็นเมืองสูงมีจำนวน 5 แห่ง ชุมชนเมืองที่อยู่ในกลุ่มนี้เป็นเทศบาลเมืองของจังหวัด ยกเว้นเทศบาลเมืองยโสธร มีลักษณะการกระจายตัวเป็นกลุ่ม สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทางตะวันตก ประกอบด้วยชุมชนเมือง 3 แห่ง คือ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และกลุ่มชุมชนเมืองทางด้านตะวันออก ได้แก่ เทศบาลเมืองมุกดาหาร และเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ เมื่อนำนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ได้กำหนดให้เมืองร้อยเอ็ดให้เป็นเมืองศูนย์ กลางความเจริญ และเมืองมุกดาหารเป็นเมืองการค้าชายแดน มาประกอบการพิจารณากับปัจจัยต่างๆ ทางกายภาพ โครงข่ายการคมนาคมและความได้เปรียบเชิงที่ตั้ง ได้เสนอแนะการพัฒนาเมืองศูนย์กลางขึ้นในแต่ละกลุ่ม โดยพัฒนาพื้นที่ตอนกลางฯ ให้มีศูนย์กลางขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด และเทศบาลเมืองมุกดาหาร |
บรรณานุกรม | : |
อัจฉรา ทิพย์มณี . (2545). การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัจฉรา ทิพย์มณี . 2545. "การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัจฉรา ทิพย์มณี . "การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. อัจฉรา ทิพย์มณี . การสำรวจสภาพโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน โครงข่ายเมืองศูนย์กลาง : กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|