ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางเก่า : กรณีศึกษาย่านวงเวียนใหญ่ |
นักวิจัย | : | สุภา รุจิรกุล |
คำค้น | : | การพัฒนาที่ดิน , การฟื้นฟูเมือง , ย่านการค้ากลางใจเมือง , วงเวียนใหญ่ (กรุงเทพฯ) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ขวัญสรวง อติโพธิ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741715528 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11560 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของพื้นที่ย่านวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางเก่าในเขตเมืองชั้นในที่เคยมีบทบาทเป็นศูนย์กลาง การคมนาคมและแหล่งการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี แต่ในภายหลังได้มีสภาพซบเซาลง จึงทำการศึกษาถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และได้เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ ผลจากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ศึกษามีสาเหตุหลักมาจากการย้าย ฐานการพัฒนาออกสู่พื้นที่เขตต่อเมืองและเขตชานเมือง ซึ่งวงเวียนใหญ่เป็นย่านการค้าเก่าแก่ในเขตเมืองชั้นในที่ปัจจุบันมีสภาพ ทรุดโทรมเนื่องจากขาดการพัฒนา มีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่คุ้มค่า และเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่ขาดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังขาดระเบียบในการใช้พื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหาด้านการจราจร ปัญหาสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ และปัญหาเหล่านี้เป็นตัวผลักดันที่สำคัญ ทำให้พื้นที่วงเวียนใหญ่ถูกลดบทบาทของการเป็นย่านการค้าที่สำคัญลงอย่างมาก จึงควรทำการพิจารณาปรับปรุงฟื้นฟูสภาพทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ ได้เสนอแนะให้ย่านวงเวียนใหญ่มีบทบาทเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการคมนาคมและย่าน พาณิชยกรรมที่ต่อเนื่องกับศูนย์กลางคมนาคมด้านใต้แห่งใหม่ รวมทั้งเป็นแหล่งที่พักอาศัย เพื่อรองรับการเป็นแหล่งงานในบริเวณพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียง โดยพิจารณาจากศักยภาพทางด้านที่ตั้งและแนวโน้มในอนาคต รวมถึงความสอดคล้องกับโครงการของภาครัฐที่จะผ่านเข้าสู่พื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟฟ้าที่จะผ่านบริเวณนี้ถึง 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟลอยฟ้าของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) โครงการรถไฟใต้ดินขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร และโครงการรถไฟความเร็วสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนำหลักการฟื้นฟูเมืองมาใช้ ในการพัฒนารูปแบบที่ผสมผสานกันอย่างเหมาะสมในแต่ละส่วนของพื้นที่ ซึ่งได้มีการเสนอให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม และสาธารณูปโภคสาธารณูปการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับบทบาทที่ได้เสนอไว้ ในการปฏิบัติตามแผนนั้น จะต้องพิจารณาถึงกลไกทางด้านกฎหมาย องค์กร เงินทุน และความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย การฟื้นฟูจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
สุภา รุจิรกุล . (2545). แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางเก่า : กรณีศึกษาย่านวงเวียนใหญ่.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภา รุจิรกุล . 2545. "แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางเก่า : กรณีศึกษาย่านวงเวียนใหญ่".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภา รุจิรกุล . "แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางเก่า : กรณีศึกษาย่านวงเวียนใหญ่."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. สุภา รุจิรกุล . แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางเก่า : กรณีศึกษาย่านวงเวียนใหญ่. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|