ชื่อเรื่อง | : | การนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทป่าไม้ |
นักวิจัย | : | ดำริห์ โชตเศรษฐ์ |
คำค้น | : | ป่าไม้ -- ไทย , การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม , การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ , วิธีการเพื่อความปลอดภัย , กฎหมายป่าไม้ , การลงโทษ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746346121 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11297 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 ความเสื่อมโทรมและการลดปริมาณป่าไม้ในป่าไม้เป็นปัญหาหลักที่ไทยต้องเผชิญมาตั้งแต่อดีตและมีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุของปัญหามาจากการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อใช้เป็นที่ทำกิน การครอบครองไม้เพื่อการทำไม้และการแปรรูปไม้ และการเผาป่า ผลของการกระทำดังกล่าวทำให้สภาพป่าไม้มีจำนวนลดลงจนกระทั่งอยู่ในขั้นวิกฤต ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างรุนแรง ทำความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ ซึ่งรัฐก็ได้มีมาตรการทางกฎหมายในการปราบปราม คือมาตรการทางอาญา อันได้แก่ โทษจำคุก โทษปรับ และโทษริบทรัพย์สิน และมาตรการทางปกครอง อันได้แก่ ระบบอนุญาต ระบบออกคำสั่ง ระบบการตรวจค้น ระบบเรียกให้ส่งเอกสารข้อเท็จจริง และระบบเรียกให้เปิดเผยข้อเท็จจริง โดยมีองค์กรของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาป่าไม้ได้ มาตรการทางอาญาอีกวิธีหนึ่ง คือ วิธีการเพื่อความปลอดภัย ซึ่งในประมวลกฎหมายอาญามี 5 วิธี คือ กักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนด เรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล และห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง มาตรการเพื่อความปลอดภัยนี้เป็นมาตรการในเชิงป้องกันมิให้มีการกระทำความผิด ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้กับการป้องกันแก้ไขปัญหาป่าไม้ พบว่าการห้ามเข้าเขตกำหนด การเรียกประกันทัณฑ์บน และการห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง สามารถนำมาใช้กับปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อใช้เป็นที่ทำกิน การครอบครองไม้เพื่อการทำไม้และการแปรรูปไม้ และการเผาป่า จึงกล่าวได้ว่า วิธีการเพื่อความปลอดภัยดังกล่าวนี้สามารถนำมาใช้กับปัญหานี้ได้ในลักษณะของมาตรการเสริม นอกจากนี้ยังมีการนำมาตรการสมคบมาใช้ประกอบด้วย จะมีผลให้การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรธรรมชาติประเภทป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์และสรุปข้อเสนอแนะดังกล่าวทำให้สมมติฐานที่ตั้งไว้มีความถูกต้อง |
บรรณานุกรม | : |
ดำริห์ โชตเศรษฐ์ . (2539). การนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทป่าไม้.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดำริห์ โชตเศรษฐ์ . 2539. "การนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทป่าไม้".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดำริห์ โชตเศรษฐ์ . "การนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทป่าไม้."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. ดำริห์ โชตเศรษฐ์ . การนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เพื่อการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทป่าไม้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|