ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอีโกลบินและรูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินในประชากรชาวกูยจังหวัดมหาสารคาม และสุรินทร์ |
นักวิจัย | : | ประยุกต์ ศรีวิไล |
คำค้น | : | แฮปโพลไทป์ , พันธุศาสตร์ประชากร , ยีน , ฮีโมโกลบิน , บ้านสะเดาหวาน (มหาสารคาม) , บ้านตากลาง (สุรินทร์) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรรณี ชิโนรักษ์ , สุพรรณ ฟู่เจริญ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | 9743325573 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11282 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 การศึกษาชนิดฮีโมโกลบิน โดยวิธีเซลลูโลสอะซิเตทอิเล็คโตรโฟเรซีส ในเลือดประชากรชาวกูยที่อยู่ในหมู่บ้านสะเดาหวาน ตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 55 ราย ตรวจพบฮีโมโกลบินอีชนิดเฮทเตอโรไซโกต จำนวน 33 ราย และชนิดโฮโมไซโกต จำนวน 8 ราย ความถี่ยีนบีตาอี {f(betaE) = 0.445 และพบฮีโมโกลบินผิดปกติ ชนิด Hb Pyrgos 3 ราย ศึกษาโดยวิธี ASPCR เมื่อนำ Hb Pyrgos ไปศึกษาแฮปโพลไทป์ พบว่าเป็นแบบ (-----BPyrgos-+) และในชาวกูยบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 77 ราย ตรวจพบฮีโมโกลบินอีชนิด เฮทเตอโรไซโกต จำนวน 38 ราย และชนิดโฮโมไซโกต จำนวน 5 ราย ความถี่ยีนบีตาอี {f(BE) = 0.311 ในประชากรชาวกูยพบความถี่ยีนบีตาอีรวม {f(BE) = 0.367 เมื่อศึกษาลักษณะแฮปโพลไทป์ในกลุ่มยีนบีตาอีโกลบิน โดยวิธี PCR และเอนไซม์ตัดจัดเพาะส่วนมากพบยีนบีตาอีอยู่บนโครโมโซม ชนิด FW2 มีแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอี 2 แบบ เป็นแบบ +----BE+- และ -+-++BE+- โดยพบว่ายีนบีตาอีที่พบมี chromosome background เหมือนในคนไทย คนลาว ลาวโซ่ง ภูไท และชาวโส้ แสดงให้เห็นว่าชาวกูยมียีนบีตาอีที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและพบว่ายีนบีตาอี จำนวน 8 โครโมโซมที่เป็นชนิด FW3 (Asian) มีแฮปโพลไทป์เป็นแบบ +----BE-+ และ -+-++BE-+ ซึ่งเป็นแฮปโพลไทป์ที่พบได้บ่อยในชาวเขมร แสดงว่ามีการแต่งงานข้ามกลุ่มระหว่างประชากรชาวกูยกับคนที่มีเชื้อสายชาวเขมร จากการศึกษารูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบิน ในประชากรชาวกูย พบทั้ง 3 แบบ โดยพบความถี่แบบ --SEA 0.011 ศึกษาโดยวิธี PCR และพบความถี่แบบ rightward deletion (-alpha3.7) และ leftward deletion (-alpha4.2) เป็น 0.189 และ 0.01 ตามลำดับ ซึ่งศึกษาโดยวิธี Southern blot hybridization แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินในประชากรชาวกูยแบบ rightward deletion สูงกว่า leftward deletion |
บรรณานุกรม | : |
ประยุกต์ ศรีวิไล . (2541). การศึกษาแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอีโกลบินและรูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินในประชากรชาวกูยจังหวัดมหาสารคาม และสุรินทร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประยุกต์ ศรีวิไล . 2541. "การศึกษาแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอีโกลบินและรูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินในประชากรชาวกูยจังหวัดมหาสารคาม และสุรินทร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประยุกต์ ศรีวิไล . "การศึกษาแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอีโกลบินและรูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินในประชากรชาวกูยจังหวัดมหาสารคาม และสุรินทร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. Print. ประยุกต์ ศรีวิไล . การศึกษาแฮปโพลไทป์ของยีนบีตาอีโกลบินและรูปแบบการขาดหายไปของยีนแอลฟาโกลบินในประชากรชาวกูยจังหวัดมหาสารคาม และสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
|