ชื่อเรื่อง | : | ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกต่อคุณภาพการให้บริการพยาบาลของพยาบาลประจำการและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย |
นักวิจัย | : | อรุณรัตน์ รอดเชื้อ |
คำค้น | : | มาตรฐานการพยาบาล , ความพอใจของผู้ป่วย , ต้อกระจก , การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง , การพยาบาลผู้สูงอายุ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ , จิราพร เกศพิชญวัฒนา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743346541 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10396 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน ก่อนและหลังการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลราชวิถี ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ป่วยต้อกระจกที่รับไว้ผ่าตัด หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชวิถี และกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยจักษุหญิงและหอผู้ป่วยจักษุชาย โรงพยาบาลราชวิถีจำนวนทั้งสิ้น 60 คน (ก่อนการใช้มาตรฐานการพยาบาล 30 คน และหลังการใช้มาตรฐานพยาบาล 30 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจก แบบสังเกตกิจกรรมการพยาบาล โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาและการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาล และแบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว โดยค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลเท่ากับ .97 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกเมื่อกลับบ้านเท่ากับ .62 รวมทั้งค่าความเที่ยงของการสังเกตกิจกรรมการพยาบาลเท่ากับ .86 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลก่อนและหลังการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกอยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 2. ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเมื่อกลับบ้านหลังการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจก สูงกว่าก่อนการใช้มาตรฐานการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน ข้อ 3 "ข้อห้ามการเช็ดตาย้อนไปมา" และข้อ 4 "การปฏิบัติในการหยอดตา" สูงสุด ส่วนข้อ 5 "วิธีหยอดตาที่ถูกวิธี" และข้อ 20 "อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์" ต่ำสุด |
บรรณานุกรม | : |
อรุณรัตน์ รอดเชื้อ . (2542). ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกต่อคุณภาพการให้บริการพยาบาลของพยาบาลประจำการและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรุณรัตน์ รอดเชื้อ . 2542. "ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกต่อคุณภาพการให้บริการพยาบาลของพยาบาลประจำการและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรุณรัตน์ รอดเชื้อ . "ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกต่อคุณภาพการให้บริการพยาบาลของพยาบาลประจำการและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. อรุณรัตน์ รอดเชื้อ . ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดต้อกระจกต่อคุณภาพการให้บริการพยาบาลของพยาบาลประจำการและความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|