ชื่อเรื่อง | : | ผลของการฝึกยิงประตูบาสเกตบอลควบคู่กับการเสริมด้วยเมดิซินบอล และการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอล |
นักวิจัย | : | เสาวลักษณ์ เหล่าเลิศรัตนา |
คำค้น | : | บาสเกตบอล , การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ , การฝึกจิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย , ศิลปชัย สุวรรณธาดา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741708203 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10607 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกยิงประตูบาสเกตบอล ควบคู่กับการฝึกเสริมด้วยเมดิซินบอล และการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอล กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีอายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวน 60 คน โดยทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถในการยิงประตูบาสเกตบอล บริเวณเส้นโยงโทษแล้วจัดกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 15 คน โดยวิธีการจัดกลุ่มให้มีความสามารถใกล้เคียงกัน แล้วกำหนดวิธีการทดลองให้แต่ละกลุ่มดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกเสริมด้วยเมดิซินบอลและฝึกทักษะการยิงประตู กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกการสร้างจินตภาพและฝึกทักษะการยิงประตู กลุ่มทดลองที่ 3 ฝึกเสริมด้วยเมดิซินบอลควบคู่กับการฝึกจินตภาพและฝึกทักษะการยิงประตู และกลุ่มควบคุมฝึกทักษะการยิงประตูเพียงอย่างเดียว ฝึกสัปดาห์ละ 3 วันคือ วันจันทร์ พุธและศุกร์ ฝึกทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยทดสอบความสามารถในยิงประตูด้วยท่ากระโดดยิง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ด้วยแบบทดสอบเดียวกันกับก่อนการฝึก นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์สำหรับวินโดวส์รุ่น 10.0 (SPSS : Statistical Package for the Social Science) โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ ถ้าพบความแตกต่างให้เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีตูกี (Tukey) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ทั้ง 4 กลุ่มมีความสามารถในการยิงประตูบาสเกตบอลด้วยท่ากระโดดยิง สูงกว่าความสามารถก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีความสามารถในการยิงประตูบาสเกตบอลด้วยท่ากระโดดยิง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม มีความสามารถในการยิงประตูบาสเกตบอลด้วยท่ากระโดดยิง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
บรรณานุกรม | : |
เสาวลักษณ์ เหล่าเลิศรัตนา . (2544). ผลของการฝึกยิงประตูบาสเกตบอลควบคู่กับการเสริมด้วยเมดิซินบอล และการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสาวลักษณ์ เหล่าเลิศรัตนา . 2544. "ผลของการฝึกยิงประตูบาสเกตบอลควบคู่กับการเสริมด้วยเมดิซินบอล และการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เสาวลักษณ์ เหล่าเลิศรัตนา . "ผลของการฝึกยิงประตูบาสเกตบอลควบคู่กับการเสริมด้วยเมดิซินบอล และการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. เสาวลักษณ์ เหล่าเลิศรัตนา . ผลของการฝึกยิงประตูบาสเกตบอลควบคู่กับการเสริมด้วยเมดิซินบอล และการฝึกจินตภาพที่มีต่อความสามารถในการกระโดดยิงประตูบาสเกตบอล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|