ชื่อเรื่อง | : | การผลิตกรดมะนาวโดย Candida oleophila NN-39 จากสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลัง |
นักวิจัย | : | สินีนาถ เจียมอนุกูลกิจ |
คำค้น | : | กรดมะนาว , แคนดิดาโอลีโอฟิลา เอ็นเอ็น-99 , กากมันสำปะหลัง , ยีสต์ , การหมัก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นลิน นิลอุบล , ไพเราะ ปิ่นพานิชการ , สุรพงศ์ นวังคสัตถุศาสน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746354051 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10179 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 กากมันสำปะหลังมีแป้งเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 50 โดยน้ำหนักแห้ง จึงมีความเป็นไปได้สูงในการที่จะแปรรูปกากมันสำปะหลังไปเป็นสารละลายน้ำตาลเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนในอุตสาหกรรมหมัก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตกรดมะนาวจากสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำประหลังด้วยกรด โดยการหมักด้วยยีสต์ Candida oleophila NN-39 พบว่าสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลังมีสารเจือปนที่ทำให้ผลผลิตกรดมะนาวลดลง สารเจือปนในสารละลายน้ำตาลอาจมาจากสารที่มีในกากมันซึ่งสามารถกำจัดออกได้บางส่วนโดยการล้างน้ำหรือเกิดจากกระบวนการเตรียมสารละลายน้ำตาลซึ่งย่อยกากมันด้วยกรดและปรับให้เป็นกลางด้วยด่าง จากผลงานวิจัยที่รายงานนี้พบว่า เกลือโซเดียมคลอไรด์ที่มีปริมาณสูงกว่า 0.04 โมลาร์ โซเดียมซัลเฟตสูงกว่า 0.01 โมลาร์ แคลเซียมคลอไรด์สูงกว่า 0.06 โมลาร์ ทำให้ผลผลิตกรดมะนาวลดลง ส่วนเกลือแคลเซียมซัลเฟตปริมาณที่ละลายได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อไม่มีผลต่อการผลิตกรดมะนาว และสารละลายน้ำตาลที่มีสีคล้ำที่ค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 420 นาโนเมตรสูงกว่า 1.940 มีผลทำให้การผลิตกรดมะนาวลดลง ดังนั้นจึงเตรียมสารละลายน้ำตาลโดยใช้กากมันสำปะหลังที่ผ่านการล้างน้ำแล้วผ่านกระบวนการย่อยด้วยกรดซัลฟิวริกและปรับค่าความเป็นกรดด่างให้เป็นกลางด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต หลังจากกรองกำจัดแคลเซียมซัลเฟตออกแล้วนำไปผ่านผงถ่านกัมมันต์เพื่อลดระดับของสารสีคล้ำให้ต่ำกว่า 1.940 จากการเลี้ยงเชื้อเพื่อผลิตกรดมะนาวในระดับถังหมัก 5 ลิตร ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้สารละลายน้ำตาลที่เตรียมได้เป็นแหล่งคาร์บอน โดยใช้ความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสเริ่มต้น 100 กรัมต่อลิตร และรักษาระดับน้ำตาลกลูโคสระหว่างการหมักไว้ประมาณ 50 กรัมต่อลิตร โดยการเติมอย่างต่อเนื่องจนปริมาณน้ำตาลรวมเท่ากับ 220 กรัมต่อลิตร ได้ปริมาณกรดมะนาว 151.49 และ 162.32 กรัมต่อลิตร คิดเป็นผลผลิตมะนาว (Yp/s) เท่ากับ 0.75 และ 0.71 ที่ระยะเวลาการหมัก 96 และ 120 ชั่วโมงตามลำดับ และน้ำหมักที่ได้มีความหนืดต่ำ |
บรรณานุกรม | : |
สินีนาถ เจียมอนุกูลกิจ . (2539). การผลิตกรดมะนาวโดย Candida oleophila NN-39 จากสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลัง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สินีนาถ เจียมอนุกูลกิจ . 2539. "การผลิตกรดมะนาวโดย Candida oleophila NN-39 จากสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลัง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สินีนาถ เจียมอนุกูลกิจ . "การผลิตกรดมะนาวโดย Candida oleophila NN-39 จากสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลัง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. สินีนาถ เจียมอนุกูลกิจ . การผลิตกรดมะนาวโดย Candida oleophila NN-39 จากสารละลายน้ำตาลที่ได้จากการย่อยกากมันสำปะหลัง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|