ชื่อเรื่อง | : | คำลักษณนามในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม : การศึกษาเปรียบเทียบ |
นักวิจัย | : | สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์ |
คำค้น | : | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา , ภาษาเวียดนาม -- การใช้ภาษา , ภาษาเปรียบเทียบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรทิพย์ พุกผาสุข , กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746380214 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10155 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 ศึกษาคำลักษณนามในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม โดยมุ่งศึกษาคำลักษณนามในโครงสร้างนามวลีบอกจำนวน เพื่อวิเคราะห์อรรถลักษณ์ของคำลักษณนาม และจำแนกกลุ่มคำลักษณนาม รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบโลกทัศน์ของผู้พูดภาษาไทยและภาษาเวียดนาม ที่สะท้อนให้เห็นจากการใช้คำลักษณนาม วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์อรรถลักษณ์ โดยกำหนดขอบเขตการวิเคราะห์ คำลักษณนามเดี่ยวเฉพาะที่เป็นคำลักษณนามแท้ทุกประเภทในภาษาพูดและภาษาเขียน ทั้งภาษาที่ใช้ทั่วไปและภาษาที่ใช้เฉพาะ ทั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลคำลักษณนาม และตัวอย่างการใช้คำลักษณนามจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาไทยและภาษาเวียดนามด้วย ผลการศึกษาพบว่า คำลักษณนามแท้ในภาษาไทยและภาษาเวียดนามมีการจำแนกกลุ่มแตกต่างกัน กล่าวคือ คำลักษณนามในภาษาไทยจำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ คำลักษณนามที่แสดงส่วนของร่างกาย คำลักษณนามที่แสดงการรับรู้ และคำลักษณนามที่แสดงความรู้สึก รวบรวมได้ทั้งหมด 73 คำ ปรากฏร่วมกับอรรถลักษณ์ทั้งหมด 52 อรรถลักษณ์ ส่วนคำลักษณนามในภาษาเวียดนามจำแนกได้ 5 กลุ่ม คือ คำลักษณนามที่แสดงส่วนของร่างกาย คำลักษณนามที่แสดงการรับรู้ คำลักษณนามที่แสดงความรู้สึก คำลักษณนามที่แสดงความเปรียบแบบบุคลาธิษฐาน และคำลักษณนามที่แสดงความเปรียบแบบอุปลักษณ์ รวบรวมได้ทั้งหมด 74 คำ ปรากฏร่วมกับอรรถลักษณ์ทั้งหมด 70 อรรถลักษณ์ นอกจากนี้ อรรถลักษณ์ที่นำมาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกกลุ่มคำลักษณนามของภาษาไทย และภาษาเวียดนามพบว่า มีความคล้ายคลึงกัน อรรถลักษณ์ดังกล่าว ได้แก่ อรรถลักษณ์ของสิ่งที่มีมาแต่เดิม อรรถลักษณ์ที่แสดงการรับรู้โดยประสาทสัมผัส อรรถลักษณ์ที่แสดงหน้าที่ และอรรถลักษณ์ที่แสดงลักษณะพิเศษ จากการวิเคราะห์อรรถลักษณ์ต่างๆ ของคำลักษณนาม ยังพบว่าอรรถลักษณ์เด่นที่สุดของคำลักษณนามแต่ละประเภทนั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้พูดภาษาไทยและภาษาเวียดนามจะเลือกใช้คำลักษณนาม กับคำนามประเภทต่างๆ ตามเกณฑ์และเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่แต่ละภาษากำหนด เกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ที่ เหมือนกันและแตกต่างกันของผู้พูดทั้งสองภาษา |
บรรณานุกรม | : |
สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์ . (2540). คำลักษณนามในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม : การศึกษาเปรียบเทียบ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์ . 2540. "คำลักษณนามในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม : การศึกษาเปรียบเทียบ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์ . "คำลักษณนามในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม : การศึกษาเปรียบเทียบ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. สิริวงษ์ หงษ์สวรรค์ . คำลักษณนามในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม : การศึกษาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|