ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาการออกและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย : ศึกษากรณีน้ำมันเถื่อน |
นักวิจัย | : | เกียรติพร อำไพ |
คำค้น | : | เขตต่อเนื่อง (กฎหมายทะเล) , การบังคับใช้กฎหมาย , กฎหมายทะเล , ปิโตรเลียม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชุมพร ปัจจุสานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746389149 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10634 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 ปัญหาการออกและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย ที่เกิดจากการประกาศเขตต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนในเขตทางทะเลของประเทศไทยนั้น ประเทศไทยสามารถดำเนินการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ ที่มีตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเลในเรื่องเขตต่อเนื่องได้ โดยอำนาจรัฐที่ใช้ภายในเขตต่อเนื่องเป็นการใช้เขตอำนาจเหนือเขต ซึ่งในการใช้เขตอำนาจดังกล่าวประเทศไทยสามารถใช้เขตอำนาจได้ในหลายๆ ประการ ได้แก่ เขตอำนาจในการวางกฎเกณฑ์และข้อบังคับในลักษณะการป้องกัน เขตอำนาจในการบังคับใช้สิทธิในการป้องกัน เขตอำนาจในการลงโทษต่อการฝ่าฝืนมาตรการป้องกันทั้งหลายของประเทศไทย ที่ใช้บังคับอยู่ภายในเขตต่อเนื่อง ตลอดจนมีเขตอำนาจในการลงโทษต่อการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์และข้อบังคับ ที่เกิดการกระทำความผิดขึ้นภายในเขตต่อเนื่องด้วย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติของรัฐต่างๆ พบว่ามีแนวทางปฏิบัติของรัฐแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง ดังนี้ (1) กลุ่มประเทศที่ออกกฎหมายภายในในลักษณะการขยายกฎหมาย 4 เรื่อง ออกไปใช้บังคับในเขตต่อเนื่องของตน (2) กลุ่มประเทศที่ออกกฎหมายภายในในลักษณะใช้การป้องกันในเขตต่อเนื่อง แต่ไม่มีสิทธิในการลงโทษต่อการกระทำความผิดภายในเขตต่อเนื่อง (3) กลุ่มประเทศที่ออกกฎหมายภายในในลักษณะการวางกฎเกณฑ์ ในการป้องกันและลงโทษต่อการฝ่าฝืนมาตรการป้องกัน (4) กลุ่มประเทศที่ออกกฎหมายในในลักษณะการคัดลอกข้อ 33 แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล สำหรับแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาในการออก และการบังคับใช้กฎหมายภายในเขตต่อเนื่อง ได้แก่ แนวทางปฏิบัติของรัฐในกลุ่มที่ 3 ซึ่งในกรณีดังกล่าวประเทศไทยสามารถยึดถือแนวทางปฏิบัติของรัฐ ในกลุ่มเช่นว่านี้เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการออก และการบังคับใช้กฎหมายภายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยเอง ซึ่งกฎเกณฑ์และข้อบังคับดังกล่าวจะต้องมีลักษณะเป็นเพียง กฎเกณฑ์ข้อบังคับในลักษณะการป้องกัน ในการเสนอกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับได้ภายในเขตต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อน ในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยนั้น ถือได้ว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยทะเลในเรื่องเขตต่อเนื่อง และไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อเสรีภาพในทะเลของรัฐอื่นจนเกินไป |
บรรณานุกรม | : |
เกียรติพร อำไพ . (2540). ปัญหาการออกและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย : ศึกษากรณีน้ำมันเถื่อน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกียรติพร อำไพ . 2540. "ปัญหาการออกและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย : ศึกษากรณีน้ำมันเถื่อน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เกียรติพร อำไพ . "ปัญหาการออกและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย : ศึกษากรณีน้ำมันเถื่อน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. เกียรติพร อำไพ . ปัญหาการออกและการบังคับใช้กฎหมายในเขตต่อเนื่องของประเทศไทย : ศึกษากรณีน้ำมันเถื่อน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|