ชื่อเรื่อง | : | ม๊อบกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยในการเมืองไทยยุคสมัยใหม่ |
นักวิจัย | : | บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์ |
คำค้น | : | ฝูงชน , ประชาธิปไตย , การเมือง , สื่อมวลชนกับการเมือง , สมัชชาคนจน , สื่อมวลชน -- การเขียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไชยันต์ ไชยพร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741718535 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10512 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุพประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการใช้และนัยความหมายของคำว่า "ม็อบ" ในสังคมไทยกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นอิทธิพลของสื่อมวลชนที่มีต่อการรับรู้และเข้าใจความหมายของคำว่า ม็อบ รวมทั้งเพื่อสะท้อนให้เห็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยอันเกิดจากการรับรู้และเข้าใจนิยามความหมายของ ม็อบว่าหมายถึงการชุมชนประท้วงทุกรูปแบบ ผลการศึกษาพบว่าสื่อมวลขน โดยเฉพาะสื่อประเภทหนังสือพิมพ์รายวันมีบทบาทอย่างยิ่งในการชี้นำสังคมให้รับรู้และเข้าใจความหมายว่า ม็อบ หมายถึงการชุมชนประท้วงทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในสังคมไทย การใช้คำว่า ม็อบ แทนการชุมชนประท้วงอย่างเหมารวมนี้ได้สร้างความเข้าใจผิดในสังคมเกิดความเข้าใจว่านี่เป็นผลจากความเป็นประชาธิปไตยแบบไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ม็อบในลักษณะเดียวกับสังคมประชาธิปไตยตะวันตกอันหมายความถึงฝูงชนวุ่นวายบ้าคลั่ง ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่ากว่าที่คำๆ นี้จะผ่านกระบวนการตกผลึกทางความคิดและกลายเป็นทฤษฎีทางสังคมวิทยาซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นบรรทัดฐานในการคัดแยกประเภทของการชุมนุมนั่นคือ การชุมชนโดยสงบกับการชุมนุมที่มีการใช้ความรุนแรงอันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักกฎหมายพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยนั้น คำๆ นี้ได้ผ่านกระบวนการต่อสู้มายาวนานและมีความลื่นไหลเชิงนิยามอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลักษณะนิยามที่เน้นประณามการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ด้วยเหตุนี้การใช้คำว่า ม็อบ อย่างเหมารวมในกรณีของสังคมไทยนั้น นอกจากจะเปิดโอกาสให้กับฝ่ายอำนาจรัฐในการอ้างความชอบธรรมในการปราบปรามเพื่อสลายการชุมนุมอันเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแล้ว การใช้คำๆ นี้ในลักษณะดังกล่าวยังสร้างอคติทางสังคมให้กับการชุมนุมประท้วงด้วย ดังนั้นปรากฏการณ์การใช้คำว่า ม็อบ ในลักษณะกล่าวจึงถือเป็นการปิดกั้นช่องทางอันชอบธรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างยิ่ง |
บรรณานุกรม | : |
บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์ . (2545). ม๊อบกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยในการเมืองไทยยุคสมัยใหม่.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์ . 2545. "ม๊อบกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยในการเมืองไทยยุคสมัยใหม่".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์ . "ม๊อบกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยในการเมืองไทยยุคสมัยใหม่."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. บุหลันฉาย อุดมอริยทรัพย์ . ม๊อบกับกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยในการเมืองไทยยุคสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|