ชื่อเรื่อง | : | การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซิวิลลอว์ |
นักวิจัย | : | รชฎ บุญสินสุข |
คำค้น | : | การฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล , คอมมอนลอว์ , กฎหมายแพ่ง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มุรธา วัฒนะชีวะกุล , วรรณชัย บุญบำรุง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741733143 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10802 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาแนวคิดและรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และซิวิลลอว์ เพื่อวิเคราะห์ว่า ควรนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายใดมาปรับใช้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์กำหนดให้ การดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เอกชนคนใดคนหนึ่งสามารถดำเนินคดีแบบ กลุ่มได้ ภายใต้การกำกับดูแลโดยศาล ทนายความและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี แบบกลุ่ม ในขณะที่การดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ หน่วยงานของรัฐหรือสมาคม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินคดีแบบกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้ อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และคุณสมบัติการใช้สิทธิ ดำเนินคดีแทนของสมาคมตามที่กฎหมายกำหนด โดยมิได้แก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การวิเคราะห์การนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มมาปรับใช้ในประเทศไทย พบว่า การนำรูปแบบการ ดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์มาปรับใช้จะมีข้อจำกัด ดังนี้ (1) ข้อจำกัดด้าน ลักษณะคดีที่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม (2) ข้อจำกัดด้านการแปลความการใช้สิทธิดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งข้อ จำกัดดังกล่าวนี้ รูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธิ พิจารณาความแพ่งจึงสามารถนำการดำเนินคดีแบบกลุ่มไปปรับใช้ได้กับทุกคดีแพ่ง และผู้ใช้สิทธิในการดำเนินคดีดัง กล่าวต้องเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายที่จะดำเนินคดีแบบกลุ่มได้ จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาการแปลความการ ใช้สิทธิดำเนินคดีแบบกลุ่มดังเช่นในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้ยอมรับการจัดให้ มีการดำเนินคดีแบบกลุ่มเช่นเดียวกันกับกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่งผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการนำรูปแบบการดำเนินคดีแบบกลุ่มในกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ในสาระสำคัญดังต่อ ไปนี้มาปรับใช้ (1) กำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มขั้นต่ำที่สามารถได้รับการดำเนินคดีแทนได้ (2) ให้ตรวจสอบทักษะ ทนายความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยจัดให้ผู้แทนกลุ่มจัดทำแผนการดำเนินคดีแบบกลุ่มล่วงหน้าและวิธีการจัด ส่งคำบอกกล่าวที่มีประสิทธิภาพแก่สมาชิกกลุ่ม (3) กำหนดให้มิให้มีการแสดงเจตนาออกจากกลุ่ม ในคดีที่ศาล เห็นว่า คดีดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงก่อให้เกิดความเสี่ยงในคำพิพากษาที่แตกต่างกันของจำเลยและของสมาชิกกลุ่ม หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลที่ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ (4) จัดให้มีชนิดของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยฝ่ายจำเลย และให้สิทธิจำเลยร้องขอต่อศาลให้โจทก์ดำเนินคดีแบบกลุ่มต่อจำเลยได้ (5) การจัดให้มีกลุ่มย่อย เพื่อรองรับการดำเนินคดีแบบกลุ่มที่ประเด็นสมาชิกกลุ่มไม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับกลุ่ม (6) กำหนดให้มีการ คิดค่าธรรมเนียมทนายความในผลได้เสียแห่งคดี (Contingent Fees) เฉพาะการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยให้ศาลเป็น ผู้พิจารณาการทำสัญญาลักษณะดังกล่าว และให้รัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี แบบกลุ่ม รวมถึงให้กำหนดการยกเว้นความรับผิดในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของสมาชิกกลุ่มให้ชัดเจน |
บรรณานุกรม | : |
รชฎ บุญสินสุข . (2545). การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซิวิลลอว์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รชฎ บุญสินสุข . 2545. "การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซิวิลลอว์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รชฎ บุญสินสุข . "การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซิวิลลอว์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. รชฎ บุญสินสุข . การดำเนินคดีแบบกลุ่มในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซิวิลลอว์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|