ชื่อเรื่อง | : | รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 |
นักวิจัย | : | มุกดา เอนกลาภากิจ |
คำค้น | : | รัฐธรรมนูญ -- ไทย , สถาบันการเมือง -- ไทย , ไทย -- การเมืองและการปกครอง , รัฐธรรมนูญ -- สิทธิเสรีภาพ -- ไทย , รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 , วุฒิสภา -- การควบคุมฝ่ายบริหาร -- ไทย , วุฒิสภา -- อำนาจหน้าที่ , วุฒิสภา -- สภานิติบัญญัติ , รัฐธรรมนูญ -- สิทธิในชีวิตและร่างกาย , รัฐธรรมนูญ -- สิทธิร้องทุกข์ , รัฐธรรมนูญ -- สิทธิฟ้องร้องหน่วยงานราชการ , รัฐธรรมนูญ -- การเมืองการปกครอง -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743347305 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10331 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 กับบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมุ่งศึกษาถึงความเป็นมา เจตนารมณ์ของผู้ร่าง และการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในความเป็นจริง ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรที่เรียกว่า "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" เป็นครั้งแรกนั้นมีเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตย และมีแนวความคิดกษัตริย์นิยม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางรูปแบบระบบการปกครองในระบบรัฐสภาแบบสองสภาที่สมาชิกสภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และวุฒิสภามาจากการเลือกและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังมีการบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อนำมาใช้บังคับภายใต้รัฐบาลของคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่มีความไม่พอใจในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีบทบัญญัติที่จำกัดบทบาทอำนาจในทางการเมืองของทหารซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะในทางการเมืองของคณะรัฐประหาร แต่คณะรัฐประหารก็จำยอมให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เนื่องจากการเข้ามามีอำนาจโดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญทำให้ขาดพลังสนับสนุนจากประชาชน และประสบปัญหาด้านการรับรองจากต่างประเทศ และที่สำคัญในขณะนั้นคณะรัฐประหารยังไม่สามารถควบคุมกองทัพได้โดยเด็ดขาด เนื่องจากกองทัพไม่ได้สนับสนุนคณะรัฐประหารทั้งหมดแต่ยังมีการแตกแยกกันเองอยู่ภายในกองทัพ นอกจากนี้สภาพการเมืองในฐานะนั้นก็มีการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองกันระหว่างกลุ่มผู้มีอำนาจฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร โดยฝ่ายพลเรือนแยกออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือบางส่วน และกลุ่มของนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแต่งตั้งวุฒิสภาและมีเสียงส่วนใหญ่อยู่ในสภาผู้แทน โดยภายในรัฐสภานั้นวุฒิสภาได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบรัฐบาลอย่างเต็มที่ และภายนอกสภาได้เกิดการกบฏจลาจลขึ้นหลายครั้ง ซึ่งรัฐบาลได้ทำการปราบปรามด้วยความรุนแรง ในที่สุดเมื่อคณะรัฐประหารสามารถกำจัดศัตรูทางการเมืองและควบคุมกองทัพได้โดยเด็ดขาดแล้ว คณะรัฐประหารก็ได้ทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลของตนเองเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศเพื่อเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของตนเองต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
มุกดา เอนกลาภากิจ . (2542). รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มุกดา เอนกลาภากิจ . 2542. "รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มุกดา เอนกลาภากิจ . "รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. มุกดา เอนกลาภากิจ . รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|