ชื่อเรื่อง | : | ขนาดตัวอย่างต่ำสุดเพื่อหาการแจกแจงทวินาม, การแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก, และการแจกแจงปัวส์ซองโดยประมาณ |
นักวิจัย | : | ภัทรชนก หวังบำรุงศักดิ์ |
คำค้น | : | การแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก , การแจกแจงปัวซองส์ , การแจกแจงทวินาม , การสุ่มตัวอย่าง (สถิติ) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มานพ วราภักดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746363875 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9866 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สต.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 หาขนาดตัวอย่างสำหรับการประมาณการแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก ด้วยการแจกแจงทวินาม, การประมาณการแจกแจงทวินามด้วยการแจกแจงปัวส์ซอง, และการประมาณการแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก, การแจกแจงทวินาม, และการแจกแจงปัวส์ซอง ด้วยการแจกแจงปกติ การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ย่อมมีความเหมาะสมกว่ากรณีทั่วไป เกณฑ์ที่ใช้สำหรับพิจารณาการวิจัยนี้ ได้แก่ เกณฑ์พิจารณากรณีการประมาณการแจกแจงแบบไม่ต่อเนื่อง ด้วยการแจกแจงแบบไม่ต่อเนื่อง กำหนดความคลาดเคลื่อน (sigma)=0.05, 0.04, 0.03, 0.02, 0.01, 0.005 และ 0.001 และเกณฑ์พิจารณากรณีการประมาณการแจกแจงแบบไม่ต่อเนื่อง ด้วยการแจกแจงแบบต่อเนื่อง กำหนดระดับนัยสำคัญ (alfa)=0.01, 0.05 และ 0.10 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อพารามิเตอร์ของการแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก n/N มีค่าน้อย จะสามารถประมาณการแจกแจงดังกล่าวด้วยการแจกแจงทวินามได้ ผลจากการศึกษาสามารถสรุปสัดส่วนระหว่างขนาดตัวอย่างและขนาดประชากร (n/N) เพื่อความสะดวกแก่การนำไปใช้งาน 2. เมื่อพารามิเตอร์ของการแจกแจงทวินาม n มีค่ามาก และความน่าจะเป็นของการเกิดความสำเร็จ p มีค่าใกล้ 0 จะสามารถประมาณการแจกแจงดังกล่าวด้วยการแจกแจงปัวส์ซองได้ ผลจากการศึกษาสามารถสรุปตารางนำเสนอขนาดตัวอย่าง n ที่เหมาะสมในการใช้งาน โดยจำแนกตามค่า p 3. เมื่อพารามิเตอร์ของการแจกแจงทวินาม n มีค่ามาก จะสามารถประมาณการแจกแจงดังกล่าวด้วยการแจกแจงปกติได้ โดยที่การประมาณจะใช้ได้ผลดีเมื่อ p มีค่าใกล้ 0.5 ทั้งนี้ถ้า p มีค่าใกล้ 0 หรือ 1 จะได้ว่าขนาดตัวอย่าง n ควรจะมีค่ามากขึ้น ผลจากการศึกษาสามารถสรุปตารางนำเสนอขนาดตัวอย่าง n ที่เหมาะสมในการใช้งาน โดยจำแนกตามค่า p 4. เมื่อพารามิเตอร์ของการแจกแจงปัวส์ซอง lambda มีค่ามาก จะสามารถประมาณการแจกแจงดังกล่าวด้วยการแจกแจงปกติได้ ผลจากการศึกษา สามารถสรุปตารางนำเสนออัตราของการเกิดขึ้น ของเหตุการณ์ที่เหมาะสมในการใช้งาน 5. เมื่อพารามิเตอร์ของการแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก n มีค่ามาก จะสามารถประมาณการแจกแจงดังกล่าวด้วยการแจกแจงปกติได้ โดยที่การประมาณจะใช้ได้ผลดี เมื่อ M/N มีค่าใกล้ 0.5 ทั้งนี้เมื่อ M/N มีค่าใกล้ 0 หรือ 1 จะได้ว่าขนาดตัวอย่าง n ควรจะมีค่ามากขึ้น ผลจากการศึกษาสามารถสรุปตารางนำเสนอขนาดตัวอย่าง n ที่เหมาะสมในการใช้งาน โดยจำแนกตามค่าพารามิเตอร์ M และ N |
บรรณานุกรม | : |
ภัทรชนก หวังบำรุงศักดิ์ . (2539). ขนาดตัวอย่างต่ำสุดเพื่อหาการแจกแจงทวินาม, การแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก, และการแจกแจงปัวส์ซองโดยประมาณ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรชนก หวังบำรุงศักดิ์ . 2539. "ขนาดตัวอย่างต่ำสุดเพื่อหาการแจกแจงทวินาม, การแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก, และการแจกแจงปัวส์ซองโดยประมาณ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรชนก หวังบำรุงศักดิ์ . "ขนาดตัวอย่างต่ำสุดเพื่อหาการแจกแจงทวินาม, การแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก, และการแจกแจงปัวส์ซองโดยประมาณ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. ภัทรชนก หวังบำรุงศักดิ์ . ขนาดตัวอย่างต่ำสุดเพื่อหาการแจกแจงทวินาม, การแจกแจงไฮเปอร์จีออเมตริก, และการแจกแจงปัวส์ซองโดยประมาณ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|