ชื่อเรื่อง | : | การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดพลังงานในอาคาร : กรณีศึกษาอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | คมกฤช ชูเกียรติมั่น |
คำค้น | : | การอนุรักษ์พลังงาน , แสงธรรมชาติ , การส่องสว่างภายใน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , สุนทร บุญญาธิการ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746388991 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9834 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 ในอดีตแผงกันแดดของอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเน้นการป้องกันแสงแดดเพียงอย่างเดียว จะพบว่าปริมาณแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคารมีปริมาณแสงต่ำ ความสว่างภายในต้องใช้แสงประดิษฐ์เสริมตลอดเวลา เป็นผลให้เกิดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง การศึกษานี้เป็นการนำเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่าให้เหมาะสม เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่าง โดยนำประโยชน์จากแสงธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ วิธีการดังกล่าวยังช่วยลดภาระการทำความเย็นให้แก่อาคาร การศึกษาใช้อาคารจริงทำให้สามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ได้ การศึกษานี้ได้เลือกอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอาคารกรณีศึกษา ลักษณะอาคารเป็นอาคารเก่ามีช่วงเวลาการใช้งานที่แน่นอน จากการสังเกตแผงกันแดดของอาคารมีรูปแบบที่ดีขนาดพื้นที่ตลอดจนสภาพแวดล้อมของอาคารมีความเหมาะสม ทำให้สะดวกต่อการวิจัย ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการตรวจสอบอาคารกรณีศึกษาเพื่อหาข้อดี ข้อเสีย ในด้านการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ รวมถึงการป้องกันแสงแดด ระบบแสงประดิษฐ์ ความสัมพันธ์ของการเปิดและปิดแสงประดิษฐ์กับปริมาณแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านเข้ามาสู่พื้นที่ภายในอาคาร ตลอดจนปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างตามช่วงเวลาการใช้งานโดยคำนึงถึงปริมาณความส่องสว่างตามมาตรฐานของอาคารสำนักงาน (500 ลักซ์) ผลที่ได้นำมาประเมินเพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุง จากการตรวจสอบพบว่า วัสดุภายในที่ใช้มีสีเข้ม (ค่าการสะท้อนแสงต่ำ) อีกทั้งแผงกันแดดของอาคารเดิมเป็นอุปสรรคต่อการส่องผ่านของแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายใน ทำให้ปริมาณแสงไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ระบบแสงประดิษฐ์ของอาคารไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณแสงธรรมชาติ ปริมาณแสงประดิษฐ์ของพื้นที่ภายในต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงประดิษฐ์บางส่วนไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุดังกล่าวพลังงานไฟฟ้าแสงสว่างที่ต้องใช้เพื่อให้ปริมาณความสว่างเพียงพอจากการคำนวนจึงมีอัตราสูงกว่าการใช้งานจริงถึง 4 เท่า แนวทางการปรับปรุงอาคารจึงมุ่งพิจารณาการใช้แสงธรรมชาติมาทดแทนแสงประดิษฐื โดยการปรับปรุงค่าการสะท้อนแสงของวัสดุทั้งภายใน และภายนอก รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของแผงกันแดด แนวทางในการนำประโยชน์จากแสงธรรมชาติมาใช้ดังกล่าวเพื่อให้สามารถพิจารณาได้หลายแนวทาง การศึกษาจึงอาศัยการสร้างหุ่นจำลองทดสอบ การทดสอบหุ่นจำลองมีทั้งสิ้น 3 แนวทาง และกระทำภายในห้องจำลองสภาพท้องฟ้า (Skydome) แนวทางการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยการคำนวนอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างที่ลดลงถูกนำมาเปรียบเทียบอีก 2 แนวทาง การประเมินผลทางเลือกใช้หลักวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงค่าการสะท้อนแสงของวัสดุ การปรับรูปแบบแผงกันแดดที่คำนึงถึงการนำประโยชน์จากแสงธรรมชาติมาใช้ สามารถเพิ่มปริมาณความสว่างภายในได้มากถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับขอบเขตของการปรับปรุง แนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงอาคารเมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ทางการเงิน ได้แก่แนวทางในการเพิ่มค่าการสะท้อนแสงของวัสดุทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตลอดจนการใช้ดวงไฟแสงสว่างที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าแสงสว่างได้ถึง 44.5 เปอร์เซ็นต์ หรือเท่ากับ 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของอาคารและมีระยะเวลาการคืนทุน 4 ปี ผลการวิจัยมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงในการนำไปประยุกต์ใช้จริง |
บรรณานุกรม | : |
คมกฤช ชูเกียรติมั่น . (2540). การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดพลังงานในอาคาร : กรณีศึกษาอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คมกฤช ชูเกียรติมั่น . 2540. "การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดพลังงานในอาคาร : กรณีศึกษาอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คมกฤช ชูเกียรติมั่น . "การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดพลังงานในอาคาร : กรณีศึกษาอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. คมกฤช ชูเกียรติมั่น . การใช้แสงธรรมชาติเสริมเพื่อลดพลังงานในอาคาร : กรณีศึกษาอาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|