ชื่อเรื่อง | : | การบำบัดน้ำเสียกากส่าโดยใช้ระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ที่มีถังหมักกรดนำ |
นักวิจัย | : | อิศระ รัตนปริยานุช |
คำค้น | : | น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ , การย่อยสลายทางชีวภาพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ , เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741737726 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10920 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ ที่มีถังหมักกรดนำในการบำบัดน้ำกากส่า ทดลองโดยใช้น้ำกากส่าเข้มข้นจากบ่อบำบัดแบบไร้ออกซิเจนมาทำการเจือจาง และใช้น้ำตาลเป็นสารอาหารปฐมภูมิ โดยมีอัตราส่วน ซีโอดีของน้ำกากส่าต่อซีโอดีของน้ำตาลเป็น 1:3 การทดลองมีค่าภาระบรรทุกอินทรีย์ 4 5 6 และ 7 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน การศึกษาแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน การทดลองขั้นที่หนึ่งศึกษาระยะเวลาเก็บกักที่เหมาะสม ของถังหมักกรดในแต่ละภาระบรรทุกอินทรีย์ การทดลองขั้นที่สองใช้ถังหมักกรดที่มีเวลาเก็บกักที่เหมาะสม ซึ่งได้จากการทดลองขั้นที่หนึ่งมาศึกษาประสิทธิภาพ ของระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ที่มีถังหมักกรดนำ ผลการศึกษาจากการทดลองขั้นที่หนึ่งพบว่า ที่ภาระบรรทุกอินทรีย์ 4 5 6 และ 7 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน มีเวลาเก็บกักที่เหมาะสมในถังหมักกรดเท่ากับ 6 6 12 และ 24 ชั่วโมงตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี 16.7% 17.3%14.9% และ 14.9% ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพการกำจัดสี 21.2% 21.7% 20.9% และ 19.5% ตามลำดับ ส่วนผลการทดลองในขั้นที่สองพบว่า ที่ภาระบรรทุกอินทรีย์ 4 5 6 และ 7 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี 65.6% 64.1% 55.4% และ 52.0% ตามลำดับ มีประสิทธิภาพการกำจัดสี 28.1% 25.2% 22.8% และ 20.0% ตามลำดับ และมีปริมาณก๊าซชีวภาพเกิดขึ้น 7.0 10.0 8.0 และ 5.0 ลิตร/วัน ตามลำดับ เมื่อเติมธาตุนิกเกิลและโคบอลท์ในน้ำเสียเข้าระบบในอัตราส่วน ซีโอดีต่อนิกเกิล และซีโอดีต่อโคบอลท์ เป็น 100:0.01 และ100:0.01 ตามลำดับพบว่า ที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 4 5 6 และ 7 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน มีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเพิ่มขึ้นเป็น 68.3% 66.6% 58.5% และ 52.7% ตามลำดับ มีประสิทธิภาพลดสีไม่แตกต่างโดยมีประสิทธิภาพ 28.3% 25.4% 22.2% และ 19.9% ตามลำดับ และมีปริมาณก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นเป็น 8.32% 10.88% 8.51% และ 5.32% ตามลำดับ สรุปได้ว่าถังหมักกรดมีส่วนสำคัญในการกำจัดสีน้ำกากส่า ประสิทธิภาพของระบบบำบัดโดยรวมลดลงเมื่อภาระบรรทุกสารอินทรีย์เพิ่มขึ้น นิกเกิลและโคบอลท์มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ |
บรรณานุกรม | : |
อิศระ รัตนปริยานุช . (2546). การบำบัดน้ำเสียกากส่าโดยใช้ระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ที่มีถังหมักกรดนำ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อิศระ รัตนปริยานุช . 2546. "การบำบัดน้ำเสียกากส่าโดยใช้ระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ที่มีถังหมักกรดนำ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อิศระ รัตนปริยานุช . "การบำบัดน้ำเสียกากส่าโดยใช้ระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ที่มีถังหมักกรดนำ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. อิศระ รัตนปริยานุช . การบำบัดน้ำเสียกากส่าโดยใช้ระบบแอนแอโรบิกไฮบริดฟิลเตอร์ที่มีถังหมักกรดนำ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|