ชื่อเรื่อง | : | สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | ทิพวรรณ ขวัญอ่อน |
คำค้น | : | หลักสูตร , พุทธศาสนา , พุทธศาสนา -- หลักสูตร , พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุมา สุคนธมาน , ภิรมย์ ศรีเพชร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | 9746378104 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9893 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ด้านงานบริหารและบริการหลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่มีการเตรียมตัว เพื่อให้เข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนจัดครูเข้าสอนตามประสบการณ์และความสามารถ จัดตารางสอนตามโครงสร้างของหลักสูตร จัดบริการวัสดุอุปกรณ์ให้ครูเตรียมสื่อการสอน จัดห้องเรียนให้เป็นระเบียบ สะอาดและอากาศถ่ายเท ครูส่วนใหญ่ระบุว่า ผู้บริหารมีวิธีการสำรวจความพร้อมของบุคลากร โดยการศึกษาประวัติจากทะเบียนประวัติ จัดครูเข้าสอนโดยพิจารณาจากครูประจำวิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย และวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มีการจัดเตรียมสื่อการสอน สนับสนุนงบประมาณและมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านตัวนักเรียน ไปยังผู้ปกครอง ปัญหาที่พบได้แก่ ครูไม่มีวุฒิทางพระพุทธศาสนา งบประมาณมีไม่เพียงพอ จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอที่จะจัดห้องจริยศึกษา ครูผู้รับผิดชอบขาดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรพระพุทธศาสนา และวิธีการประชาสัมพันธ์ ด้านงานดำเนินการเรียนการสอนหลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่สนับสนุนให้ครูจัดทำแผนการสอน จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร ให้ผลิตและใช้สื่อ ให้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผล ครูผู้สอนพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จะทำแผนการสอนด้วยตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกและมีส่วนร่วม ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย ผลิตสื่อด้วยตนเองจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ชี้แจงจุดมุ่งหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการวัดผลให้นักเรียนทราบก่อนสอน ในการวัดและประเมินผลใช้แบบทดสอบ แบบฝึกหัดและทดสอบภาคปฏิบัติ โดยจัดทำหลังจากจบบทเรียน และวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ จากการเรียนตามหลักสูตรพระพุทธศาสนา คือทำให้เกิดศรัทธาและสำนึกในความสำคัญของพระพุทธศาสนา ปัญหาที่พบ ได้แก่ ครูขาดความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาพระพุทธศาสนา ขาดทักษะในการเขียนแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการผลิตสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งไม่มีเวลาเตรียมการสอน ด้านงานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ระบุว่า ผู้นิเทศ คือ ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ วิธีการนิเทศใช้การแนะนำและเยี่ยมเยียนตามชั้นเรียน ส่วนครูระบุว่า ใช้การประชุมชี้แจง วิธีการสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครู โดยการให้คำปรึกษาแนะนำ ปัญหาที่พบได้แก่ ไม่ได้รับการนิเทศและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง |
บรรณานุกรม | : |
ทิพวรรณ ขวัญอ่อน . (2541). สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิพวรรณ ขวัญอ่อน . 2541. "สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิพวรรณ ขวัญอ่อน . "สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. Print. ทิพวรรณ ขวัญอ่อน . สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
|