ชื่อเรื่อง | : | ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา |
นักวิจัย | : | ธัญชนก จิงา |
คำค้น | : | สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา , ผู้ป่วยจิตเภท , จิตเภท , บุหรี่ , การสูบบุหรี่ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บุรณี กาญจนถวัลย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741748949 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9735 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความชุกของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่เป็นผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ แบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ แบบวัดระดับสารนิโคติน และแบบวัดความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ค่าสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และเปอร์เซนต์ไทล์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดย One Way ANOVA , Unpair t-test และChi-square test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ อายุ ระยะเวลาป่วยทางจิต ระดับการติดสารนิโคติน และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ โดยใช้ Pearsonʼs product moment correlation coefficient และใช้ Stepwise Multiple Regression และ Logistic Regression Analysis ในการหาปัจจัยทำนายความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-29 ปี มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา พบว่าความชุกของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยชายร้อยละ 70.63 และผู้ป่วยหญิงร้อยละ18.18 กลุ่มตัวอย่างที่สูบและไม่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มี่ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ในระดับดี มีทัศนคติทางลบเกี่ยวกับบุหรี่ และมีความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่มีระดับการติดสารนิโคตินอยู่ในระดับปานกลางและมีแนวโน้มพัฒนาไปเป็นการติดสารนิโคตินในระดับสูง พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ อายุของผู้ป่วย และระยะเวลาป่วยทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับ ทัศนคติ และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ และระดับการติดสารนิโคตินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางลบกับ อายุของผู้ป่วยและระยะเวลาป่วยทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับ อายุของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจกับ ระยะเวลาการป่วยทางจิตเป็นปัจจัยทำนายต่อทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาที่ใช้สารเสพติดอื่น, ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ และความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ เป็นปัจจัยทำนายต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
บรรณานุกรม | : |
ธัญชนก จิงา . (2546). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธัญชนก จิงา . 2546. "ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธัญชนก จิงา . "ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ธัญชนก จิงา . ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยในโรคจิตเภท ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|