ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ถึง 8 (พ.ศ. 2530-2544) |
นักวิจัย | : | สุริยะ เจียมประชานรากร |
คำค้น | : | ความเสมอภาคทางการศึกษา -- ไทย , การกระจายรายได้ -- ไทย , แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ , อิศรา ศานติศาสน์ , ชื่นชนก โควินท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741746563 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11028 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 วิเคราะห์ความเสมอภาคทางการศึกษา ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 (พ.ศ. 2530-2544) วิเคราะห์การกระจายรายได้ของครัวเรือน ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 (พ.ศ. 2530-2544) วิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 (พ.ศ. 2530-2544) และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อลดช่องว่างในการกระจายรายได้ การวิจัยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital Theory) เป็นฐานความคิดและใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2535 2539 และ 2543 ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 7 และ 8 ตามลำดับ ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อศึกษาการกระจายรายได้ของครัวเรือน ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์จินี (Gini coefficient) ในการศึกษาความเสมอภาคทางการศึกษา ใช้จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา (year of schooling) ของหัวหน้าครัวเรือนและของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน ส่วนการวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise regression analysis) และโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการจัดการศึกษาเพื่อลดช่องว่างในการกระจายรายได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเสมอภาคทางการศึกษาในภาพรวมมีมากขึ้น ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 โดยจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนเป็น 5.18 ปี 5.19 ปี และ 5.71 ปี และของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนเป็น 5.35 ปี 5.82 ปี และ 6.46 ปี ตามลำดับ แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคเล็กน้อย โดยกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความเสมอภาคทางการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และมีความเหลื่อมล้ำมากในระหว่างกลุ่มชั้นรายได้ โดยหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกทุกคนในครัวเรือนของกลุ่มครัวเรือนชั้นรายได้สูงสุด 20% มีจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาสูงกว่าของกลุ่มครัวเรือนชั้นรายได้ต่ำสุด 20% เท่ากับ 2-2.5 เท่า 2. การกระจายรายได้มีแนวโน้มเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 โดย Gini coefficient เท่ากับ 0.5882 0.5816 และ 0.6910 ตามลำดับ ภาคกลางมีการกระจายรายได้ดีที่สุด รองลงมาคือกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ความเสนมอภาคทางการศึกษามีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงของรายได้ของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนมนุษย์และสมมติฐานการวิจัย โดยในช่วงของแผนพัฒนาฯฉบับที่6 7 และ 8 ความสเมอภาคทางการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จะทำให้ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ลดลงร้อยละ 23.02 15.17 และ 36.50 ตามลำดับ และความเสมอภาคทางการศึกษาของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนจะทำให้ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ลดลงร้อยละ 81.53 78.41 และ 69.75 ตามลำดับ 4.รัฐบาลควรจะใช้นโยบายจัดการศึกษาเพื่อขยายโอกาสให้คนในครัวเรือนกลุ่มชั้นรายได้ต่ำสุด 20% ได้ศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนและประกันการมีงานทำ และยกระดับรายได้ของคนกลุ่มนี้ให้สูงขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ |
บรรณานุกรม | : |
สุริยะ เจียมประชานรากร . (2546). การวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ถึง 8 (พ.ศ. 2530-2544).
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุริยะ เจียมประชานรากร . 2546. "การวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ถึง 8 (พ.ศ. 2530-2544)".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุริยะ เจียมประชานรากร . "การวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ถึง 8 (พ.ศ. 2530-2544)."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สุริยะ เจียมประชานรากร . การวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ถึง 8 (พ.ศ. 2530-2544). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|