ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด |
นักวิจัย | : | ศิริพร พูลรักษ์ |
คำค้น | : | ครู , ลิสเรล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) , การวิเคราะห์ตัวแปรพหุ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นงลักษณ์ วิรัชชัย , สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741763387 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10206 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัด และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู และศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู ระหว่างกลุ่มประชากรครูสังกัดโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โมเดลการวัดประสิทธิภาพการใช้ครูที่พัฒนาขึ้น เป็นโมเดลองค์ประกอบสองขั้นตอน ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 19 ตัวแปร โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครูเป็นโมเดลลิสเรล ประกอบด้วยตัวแปรสาเหตุ 3 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 6 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 200 คน และครู 1,200 คน จาก 200 โรงเรียนในเขตภาคกลางซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการแจกแจงของตัวแปร และการทดสอบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของตัวแปรด้วยโปรแกรม SPSS 10.01 ตรวจสอบความตรงและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัด และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.52 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า โมเดลการวัดประสิทธิภาพการใช้ครูที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (ค่าไค-สแควร์ = 1.01, องศาอิสระ = 1, ค่า P = 0.32, GFI = 0.99, AGFI = 0.98) โดยองค์ประกอบกระบวนการใช้ครู และผลผลิตที่เกิดกับตัวครูอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการใช้ครูได้ 48% และ 70% ตามลำดับ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (ค่าไค-สแควร์ = 15.06, องศาอิสระ = 10, ค่า P = 0.13, GFI =0.93) และปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการใช้ครูคือ คุณลักษณะของโรงเรียน ความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรม และคุณลักษณะของผู้บริหารและครูตามลำดับ และอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการใช้ครูได้ 34% โมเดลการวัดประสิทธิภาพการใช้ครู มีความไม่แปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและน้ำหนักองค์ประกอบ ระหว่างกลุ่มปรุชากรครูทั้งสองสังกัด โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู มีความไม่แปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและน้ำหนักองค์ประกอบ ระหว่างกลุ่มประชากรครูทั้งสองสังกัด |
บรรณานุกรม | : |
ศิริพร พูลรักษ์ . (2547). การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริพร พูลรักษ์ . 2547. "การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริพร พูลรักษ์ . "การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ศิริพร พูลรักษ์ . การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิภาพการใช้ครู และการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างสังกัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|