ชื่อเรื่อง | : | ธุรกิจจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพของจังหวัดสมุทรสาคร |
นักวิจัย | : | อดิศักดิ์ กันบุญ |
คำค้น | : | เศรษฐศาสตร์ภูมิภาค , ภูมิศาสตร์กายภาพ -- ไทย -- สมุทรสาคร , กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง , สมุทรสาคร -- ภาวะเศรษฐกิจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741735901 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9631 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยแยกกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มคือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้กุ้งกุลาดำเป็นปัจจัยในการผลิต 4 ประเภทคือ ตลาดกลางกุ้ง ธุรกิจแพกุ้ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมห้องเย็น และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผลิตปัจจัยในการเลี้ยงกุ้ง 4 ประเภทคือ อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์น้ำ ฟาร์มเพาะตัวอ่อน ธุรกิจขนส่งน้ำเค็ม โรงงานผลิตอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นการศึกษาทางด้านลักษณะการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งรูปแบบการใช้ที่ดินของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาได้แบ่งพื้นที่ศึกษาคือ จังหวัดสมุทรสาครแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของธุรกิจที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการดำเนินธุรกิจของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกันอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ในทางควบคู่ โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัดค่อนข้างสูงคือ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ แพกุ้ง และอุตสาหกรรมห้องเย็น ส่วนรูปแบบการใช้ที่ดินของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่สืบเนื่องมาจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำจะมีตัวแปรที่ส่งผลต่อการใช้ที่ดิน 3 ประเภทคือ 1.) เส้นทางคมนาคมขนส่ง 2.) แหล่งวัตถุดิบ และ 3.) แหล่งชุมชน ซึ่งตัวแปรทั้งสามจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก การเลี้ยงกุ้งกุลาดำขยายตัวไปทางด้านฝั่งตะวันตกของจังหวัดสมุทรสาคร แนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม จึงควรจัดหาพื้นที่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมเดิม เพื่อลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมฝั่งตะวันตก |
บรรณานุกรม | : |
อดิศักดิ์ กันบุญ . (2546). ธุรกิจจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพของจังหวัดสมุทรสาคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อดิศักดิ์ กันบุญ . 2546. "ธุรกิจจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพของจังหวัดสมุทรสาคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อดิศักดิ์ กันบุญ . "ธุรกิจจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพของจังหวัดสมุทรสาคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. อดิศักดิ์ กันบุญ . ธุรกิจจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกายภาพของจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|