ชื่อเรื่อง | : | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู |
นักวิจัย | : | วิมลสิริ เหมทานนท์ |
คำค้น | : | การท่องเที่ยว -- การมีส่วนร่วมของประชาชน , บางลำพู (กรุงเทพฯ) , การท่องเที่ยว -- ไทย -- นโยบายของรัฐ , การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ , ชุมชน -- การอนุรักษ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุภาวดี มิตรสมหวัง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741734735 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9560 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จูฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนย่านบางลำพู รวมทั้งปัจจัย ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 30 ราย โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ที่รู้ข้อมูลท้องถิ่น การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการศึกษาจากรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้นโยบายด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร, การรับรู้เรื่องกระแสโลกในนโยบายด้านการมีส่วนร่วม, ความต้องการรักษาวิถีชีวิตเดิม, ความต้องการรักษาโบราณสถานและระดับการรักษาผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีการรับรู้นโยบายด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในระดับที่สูง, มีการรับรู้เรื่องกระแสโลกในนโยบายด้านการมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง, มีความต้องการรักษาวิถีชีวิตเดิมในระดับที่สูง, มีความต้องการรักษาโบราณสถานในระดับที่สูง และมีระดับการรักษาผลประโยชน์ที่สูง จะมีส่วนร่วมมากในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนบางลำพู การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่บางลำพูที่ผู้วิจัยทำการศึกษามี 4 ขั้นตอน คือ การคิดแก้ไขปัญหา, การวางแผนและโครงการ, การปฏิบัติงานและการติดตามผลงาน บำรุงรักษาและร่วมรับผิดชอบ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือ การคิดแก้ไขปัญหา, การวางแผนและโครงการ และการติดตามผลงาน บำรุงรักษาและร่วมรับผิดชอบ ตามลำดับ ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นของประชาชนมีมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและการร่วมวางแผนโครงการ การติดตามผลงาน และร่วมแก้ไขปัญหาให้มากขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
วิมลสิริ เหมทานนท์ . (2546). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมลสิริ เหมทานนท์ . 2546. "การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมลสิริ เหมทานนท์ . "การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. วิมลสิริ เหมทานนท์ . การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว : ศึกษากรณีชุมชนย่านบางลำพู. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|