ชื่อเรื่อง | : | ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | ปิยวรรณ ค้ำพันธุ์ |
คำค้น | : | พฤติกรรมสุขภาพ , ชุมชนแออัด , ความเชื่อด้านสุขภาพ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | บดี ธนะมั่น , ทศพร วิมลเก็จ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743337105 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9588 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่งคุณลักษณะด้านประชากร และปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยอาศัยกรอบแนวคิดจาก Precede-proceed Model ของกรีนและกรูเธอร์ ทำการเลือกชุมชนตัวอย่างแบบง่าย 5 ชุมชน จากชุมชนแออัด 16 ชุมชนในเขตบางรัก และสุ่มตัวอย่างประชากรแบบเป็นระบบจากชุมชนตัวอย่าง จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยสถิติไคสแคว์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แทน Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis H test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในระดับปานกลาง เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมสุขภาพที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับดีมาก คือ การไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมสุขภาพในระดับดี ได้แก่ การบริโภคอาหาร การไม่สูบบุหรี่ และการจัดการกับความเครียด ส่วนพฤติกรรมสุขภาพที่มีระดับไม่เหมาะสม ได้แก่ การออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี ในด้านปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ ได้แก่ ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ปัจจัย คุณลักษณะด้านประชากร ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ อาชีพ รายได้ครอบครัว และศาสนา (p<.05) ปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) ได้แก่ ค่านิยมทางสุขภาพ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (rs = 0.612) ความรู้ และเจตคติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ (p = .001, .038) ในทิศทางตรงข้ามกัน ความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (rs = -0.159, -0.104) ส่วนปัจจัยด้านความเชื่อและการรับรู้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .150) จากผลการวิจัย ควรมีกิจกรรมการดำเนินงานส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนแออัดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพประจำปี มีโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยคำนึงถึงความแตกต่างของอาชีพ รายได้ครอบครัว และศาสนา และมีการสร้างเสริมค่านิยมทางสุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชน เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
ปิยวรรณ ค้ำพันธุ์ . (2542). ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยวรรณ ค้ำพันธุ์ . 2542. "ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปิยวรรณ ค้ำพันธุ์ . "ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. ปิยวรรณ ค้ำพันธุ์ . ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|