ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย |
นักวิจัย | : | เดชา บุญมาสุข |
คำค้น | : | มหาวิทยาลัยสงฆ์ , การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741718225 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9736 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาต้นทุนและแนวโน้มของต้นทุนในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยสงฆ์และเสนอแนวทางการจัดทำงบประมาณ เมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ของสถาบันและการจัดทำงบประมาณแบบเน้นผลงาน ที่สอดคล้องกับแนวโน้มต้นทุนในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ข้อมูลในการวิจัยคือ ต้นทุนในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิธีวิจัยคือ วิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาโดยใช้ข้อมูลต้นทุนลงทุนและต้นทุนดำเนินการของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยในช่วงปี พ.ศ. 2540-2544 ไปคำนวณแนวโน้มต้นทุนเฉลี่ยต่อคนต่อปีในช่วงปี พ.ศ. 2545-2549 และนำผลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของสถาบัน และวิธีการจัดสรรงบประมาณแบบเน้นผลงาน มาจัดทำข้อเสนอแนวทางในการจัดทำงบประมาณ ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2544 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมี ต้นทุนเฉลี่ยต่อคนต่อปีในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี เท่ากับ 21,720 บาท และ 55,314 บาท ตามลำดับ แนวโน้มของต้นทุนเฉลี่ยต่อคนต่อปีในการจัดการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2545-2549 พบว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีแนวโน้มของต้นทุนเฉลี่ยต่อคนต่อปีในการจัดการศึกษาสูงขึ้น 6.13% และ 4.41% ตามลำดับ ผลการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัญหาสำคัญในการจัดทำงบประมาณ ได้แก่ ปัญหาข้อจำกัดของงบประมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละปี ปัญหาด้านศักยภาพของบุคลากร และปัญหาความไม่พร้อมของระบบการบริหารและจัดการในการจัดการศึกษา ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่จึงเสนอแนวทางในการจัดทำงบประมาณ โดยต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรและระบบการบริหาร และจัดการงบประมาณใหม่ รวมทั้งต้องการให้มีการควบคุมต้นทุนและบริหารต้นทุน ที่ใช้ในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องการให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากร การบริหารงาน และการประเมินผลการจัดทำงบประมาณในแต่ละปี ผลการวิเคราะห์โครงการค่าใช้จ่ายพบว่า โครงการศาสนศึกษาในแต่ละปียังขาดการริเริ่มโครงการใหม่ๆ เนื่องจากปัญหาข้อจำกัดด้านจำนวนเงินงบประมาณ สำหรับผลการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของสถาบันพบว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีภาพรวมเพื่อมุ่งเน้นให้บัณฑิต มีทักษะในชีวิตและการทำงานควบคู่กันไป โดยสามารถจะประยุกต์พระพุทธศาสนาให้เข้ากับวิชาการแขนงอื่นๆ ได้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีภาพรวมเพื่อมุ่งเน้นให้บัณฑิตเป็นกำลังสำคัญในฐานะผู้นำ ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลกได้ สำหรับแนวทางในการจัดทำงบประมาณในอนาคต ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางสำคัญไว้ดังนี้ (1) ต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดทำงบประมาณเกี่ยวกับโครงการศาสนศึกษาในแต่ละปี ในรูปแบบของการจัดทำงบประมาณแบบเน้นผลงาน (2) ต้องวางแผนการควบคุมและบริหารต้นทุน โดยจำแนกความสำคัญและความจำเป็นก่อนหลัง แล้วใช้หลักการประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ต้นทุนตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการศึกษา (3) ต้องมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัย ให้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนผลงานวิจัย และความร่วมมือในการพัฒนาระบบการจัดทำงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต |
บรรณานุกรม | : |
เดชา บุญมาสุข . (2546). การวิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เดชา บุญมาสุข . 2546. "การวิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เดชา บุญมาสุข . "การวิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. เดชา บุญมาสุข . การวิเคราะห์ต้นทุนทางการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|