ชื่อเรื่อง | : | การประยุกต์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ของรูปแบบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน |
นักวิจัย | : | ศตรัฐ พลมณี |
คำค้น | : | การประเมิน , โครงการ -- การประเมิน , โครงการอาหารกลางวัน , โรงเรียนประถมศึกษา , ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวิมล ว่องวาณิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2541 |
อ้างอิง | : | 9743325328 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9455 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ของรูปแบบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา เปรียบเทียบอรรถประโยชน์ของการจัดโครงการอาหารกลางวันตามรูปแบบต่างๆ ในโรงเรียนประถมศึกษาและตรวจสอบผลการประยุกต์ใช้ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ โดยพิจารณาจากสัมฤทธิผลของกระบวนการใช้ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ และการยอมรับในผลที่ได้จากผู้เกี่ยวข้อง รูปแบบของโครงการอาหารกลางวันที่นำมาจัดเรียงลำดับความสำคัญมี 5 รูปแบบ ได้แก่ แบบครัวกลาง แบบโรงเรียนจัดบริการเอง แบบโรงเรียนจัดจ้างผู้ประกอบอาหารโดยการกำกับของโรงเรียน แบบให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขายและแบบให้นักเรียนนำอาหารมาจากบ้าน ประชากรคือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 17 โรงเรียน การวิจัยนี้ใช้กระบวนการกลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณลักษณะที่ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของรูปแบบโครงการอาหารกลางวัน ประกอบด้วยคุณลักษณะรอง 16 ประการ ซึ่งอยู่ภายใต้คุณลักษณะหลัก 4 ประการ คือ 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านการบริหารและดำเนินงาน 3) ด้านอาหารและโภชนาการ และ 4) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 2. รูปแบบโครงการอาหารกลางวันที่มีอรรถประโยชน์รวมสูงสุดคือ แบบโรงเรียนจัดบริการเอง รองลงมาคือ แบบโรงเรียนจัดจ้างผู้ประกอบอาหารโดยการกำกับของโรงเรียน แบบครัวกลาง แบบให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขาย และแบบให้นักเรียนนำอาหารมาจากบ้าน ตามลำดับ 3. ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการ มีความคิดเห็นต่อเทคนิคเอ็มเอยูทีในด้านวิธีการปฏิบัติ ด้านผลการตัดสินของการเลือกรูปแบบโครงการอาหารกลางวัน และด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก |
บรรณานุกรม | : |
ศตรัฐ พลมณี . (2541). การประยุกต์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ของรูปแบบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศตรัฐ พลมณี . 2541. "การประยุกต์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ของรูปแบบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศตรัฐ พลมณี . "การประยุกต์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ของรูปแบบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541. Print. ศตรัฐ พลมณี . การประยุกต์ทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ของรูปแบบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.
|