ชื่อเรื่อง | : | ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | กสานติ์ วณิชชานนท์ |
คำค้น | : | ผู้นำ , โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2529 |
อ้างอิง | : | 9745667706 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9592 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร สมมติฐานการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร มีความแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 80 คน และกลุ่มอาจารย์ที่ปฏิบัติการสอน 375 คน รวม 455 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ชุดที่มีลักษณะเดียวกันคือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะของคำถามเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แบบ คือ ผู้นำที่ยึดสถาบันเป็นหลัก ผู้นำที่ยึดบุคคลเป็นหลัก และผู้นำที่ยึดการประสานประโยชน์เป็นหลัก จำนวน 45 ข้อ ลักษณะของคำถามเป็นแบบประเมินค่า แบบสอบถามถูกส่งไป 455 ฉบับ ได้รับคืนและเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ใช้วิจัยได้ 444 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.58 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนมัธยมมีภาวะผู้นำเป็นแบบประสาน ประโยชน์เป็นหลักมากกว่าแบบยึดสถาบันเป็นหลัก และแบบยึดบุคคลเป็นหลัก โดยพิจารณารายละเอียดแต่ละภาวะผู้นำได้ดังนี้ 1.1 แบบภาวะผู้นำที่ยึดสถาบันเป็นหลัก ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์โดยส่วนรวม ปรากฎว่า อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาแยกกลุ่มตัวอย่างประชากรปรากฏว่าผู้บริหารเห็นว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนอาจารย์เห็นว่าอยู่ในระดับน้อย 1.2 แบบภาวะผู้นำที่ยึดบุคคลเป็นหลัก ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์โดยส่วนรวม ปรากฎว่าอยู่ในระดับน้อย แต่เมื่อพิจารณาแยกกลุ่มตัวอย่างประชากรปรากฎว่าผู้บริหารเห็นว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนอาจารย์เห็นว่าอยู่ในระดับน้อย 1.3 แบบภาวะผู้นำที่ยึดการประสานประโยชน์เป็นหลัก ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์โดยส่วนรวม ปรากฎว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกกลุ่มตัวอย่างประชากรปรากฎว่า ทั้งผู้บริหารและอาจารย์เห็นว่าอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 3 แบบดังกล่าวแล้ว ปรากฎว่าผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 3 แบบ จึงสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ |
บรรณานุกรม | : |
กสานติ์ วณิชชานนท์ . (2529). ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กสานติ์ วณิชชานนท์ . 2529. "ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กสานติ์ วณิชชานนท์ . "ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529. Print. กสานติ์ วณิชชานนท์ . ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2529.
|