ชื่อเรื่อง | : | บทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน |
นักวิจัย | : | บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ |
คำค้น | : | นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2330-2394 , ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 3 |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุเนตร ชุตินธรานนท์ , ธิดา สาระยา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741742444 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9390 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาประวัติศาสตร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคเปลี่ยนผ่าน หรือยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของไทย อันเป็นรอยต่อที่สำคัญของการเผชิญหน้าระหว่างโลกจารีตกับโลกสมัยใหม่แบบตะวันตกที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและแสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่า โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านบทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษาพบว่า สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง "เก่า-ใหม่" คือปรับเปลี่ยนจากสังคมแบบจารีตไปสู่สมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี นับตั้งแต่การขยายตัวทางการค้าต่างประเทศ การเข้ามาของตะวันตกที่มาพร้อมกับวิทยาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และแสนยานุภาพทางทหาร ได้ทรงวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอันเป็นพื้นฐานสำคัญนำพาประเทศให้ก้าวต่อไป การวางรากฐานทางเศรษฐกิจมี ๓ วิธีที่สำคัญคือการวางรากฐานด้านการค้าโดยการส่งเสริมการค้าสำเภาจีนและส่งเสริมการค้ากับตะวันตก การวางรากฐานด้านภาษีอากร โดยนำระบบเจ้าภาษีอากรมาใช้อย่างจริงจังเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการค้าเสรีที่ทรงลดจำนวนสินค้าผูกขาดลง และส่งเสริมเศรษฐกิจโดยการตั้งเมืองใหม่ ขุดและลอกคูคลอง ส่วนการวางรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรม ทรงวางรากฐานด้านความรู้โดยการสร้างค่านิยมและส่งเสริมการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมชำระและแต่งตำราต่างๆ ขึ้นส่งผลให้สมัยนี้มีการตื่นตัวทางการศึกษา โดยทรงใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ในด้านต่างๆ ดังเช่นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของสังคม โดยเฉพาะความรู้ด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และยังเป็นสถานที่เผยแพร่ข้อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของคนในสังคมเพื่อจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมอีกด้วย |
บรรณานุกรม | : |
บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ . (2546). บทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ . 2546. "บทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ . "บทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ . บทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|