ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง |
นักวิจัย | : | สมศรี จินะวงษ์ |
คำค้น | : | การเรียนรู้ , การกระจายรายได้ , เศรษฐกิจพอเพียง , ไทย -- ภาวะสังคม , ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ , อมรวิชช์ นาครทรรพ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741702868 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9404 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาแนวคิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงในอดีตและปัจจุบัน วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง และวิเคราะห์การกระจายรายได้ในชุมชน ที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม) และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (วิธี Decomposability โดยใช้ Gini Coefficient กลุ่มตัวอย่างจำนวน 123 ครัวเรือนในชุมชนบ้านสุขใจ จังหวัดกาฬสินธุ์ และจำนวน 49 ครัวเรือนในชุมชนพอเพียง จังหวัดมหาสารคาม) ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงในอดีตและในปัจจุบัน มีทั้งสิ่งที่เป็นจุดร่วมและจุดต่าง สำหรับจุดร่วมคือการเน้นในเรื่องพออยู่ พอกิน การพึ่งตนเอง การพึ่งพาซึ่งกันและกัน การมีความสุขตามอัตภาพโดยไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม จุดต่างคือในสภาพปัจจุบันการผลิตเป็นไปเพื่อสนองความต้องการ ในการบริโภคของครัวเรือนและเพื่อการค้า การบริโภคเป็นเป็นไปทั้งเพื่อสนองความต้องการ ในการดำรงชีวิตและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การแลกเปลี่ยนเป็นไปทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับโลก การจัดสรรหรือการแบ่งปันเป็นไปทั้งในระดับชุมชนและระดับรัฐ 2) กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอาศัยปัจจัยการเรียนรู้ทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกและปัจจัยสภาพแวดล้อม โดยมีลักษณะการเรียนรู้ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและการรวมกลุ่ม จากแหล่งเรียนรู้ทั้งจากภายในชุมชนและภายนอกชุมชน โดยชุมชนบ้านสุขใจ จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้ศรัทธาที่มีต่อบุคคล และชุมชนพอเพียง จังหวัดมหาสารคาม ใช้ความศรัทธาในตนและกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นเครื่องหนุนนำการเรียนรู้ 3) เมื่อพิจารณาจากแหล่งที่มาของรายได้ทั้งรายได้หลักและรายได้เสริม พบว่าหลังจากที่ชุมชนใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง การกระจายรายได้ของคนในชุมชนดีขึ้น |
บรรณานุกรม | : |
สมศรี จินะวงษ์ . (2544). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมศรี จินะวงษ์ . 2544. "การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมศรี จินะวงษ์ . "การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. สมศรี จินะวงษ์ . การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ในชุมชนที่ใช้แนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|