ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก |
นักวิจัย | : | สรารัตน์ จันกลิ่น |
คำค้น | : | ความเข้าใจในการอ่าน , ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน , การอ่านขั้นมัธยมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุจิตรา สวัสดิวงษ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2544 |
อ้างอิง | : | 9741704372 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9423 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก และเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเอง และกลวิธีการจดบันทึกตัวอย่างประชากรในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2544 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจงมา 2 ห้อง โดยสุ่มให้นักเรียนห้องหนึ่งจำนวน 41 คนเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีตั้งคำถามตนเอง และนักเรียนอีกห้องหนึ่งจำนวน 48 คนเป็นกลุ่มทดลองที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการจดบันทึก ผู้วิจัยสอนทั้ง 2 กลุ่มด้วยตนเอง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการสอนกลุ่มละ 9 แผนการสอน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษจำนวน 1 ฉบับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และความถูกต้องในการใช้ภาษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบเท่ากับ .89 และทดสอบตัวอย่างประชากรหลังการทดลองสอน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละของค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเอง มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ตามเกณฑ์การประเมินผลการเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ และนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการจดบันทึก มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเอง มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการจดบันทึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
สรารัตน์ จันกลิ่น . (2544). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สรารัตน์ จันกลิ่น . 2544. "การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สรารัตน์ จันกลิ่น . "การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. Print. สรารัตน์ จันกลิ่น . การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกลวิธีการตั้งคำถามตนเองและกลวิธีการจดบันทึก. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
|