ชื่อเรื่อง | : | คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชนบทยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์ |
นักวิจัย | : | สุภา อินทร์มณี |
คำค้น | : | โรงเรียนบ้านดงหาว -- การบริหาร , ความจน , คุณภาพชีวิต , คุณภาพการศึกษา , ชุมชนกับโรงเรียน -- ไทย -- บุรีรัมย์ , หมู่บ้านดงหาว (บุรีรัมย์) , หมู่บ้านดงกรวด (บุรีรัมย์) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นิศา ชูโต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743334262 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9352 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของความยากจนที่มีต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในพื้นที่ยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนามนาน 11 เดือน โดยเข้าไปศึกษาชุมชนและโรงเรียน การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมในชุมชน ชุมชนอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งกันดาร ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนาและรับจ้าง หารายได้ยังชีพจากการอพยพออกไปทำงานต่างถิ่นและเผาถ่านขาย ชาวบ้านที่ยากจนมักจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และถูกกำจัดโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์ ขาดแบบอย่างและผู้นำเข้มแข็ง ชาวบ้านยังมีความเชื่อและค่านิยมเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ชอบการดื่มสุรา และค่านิยมที่เน้นการบริโภควัตถุ ใช้จ่ายเกินตัว ต้องพึ่งพิงอาหารจากร้านค้า ทำให้ชาวบ้านดำรงชีวิตประจำวันด้วยความอัตคัดฝืดเคือง การอพยพไปทำงานต่างถิ่นของผู้ปกครองเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของนักเรียน 2) ในด้านความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนตั้งอยู่หางจากชุมชน ไม่มีครูอยู่ประจำในท้องที่ ครูมีทัศนคติเชิงลบกับชาวบ้านสร้างความแปลกแยกระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ชาวบ้านยินดีให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในด้านแรงงานชาวบ้านไม่กล้าประเมินโรงเรียน เพราะชาวบ้านคิดว่าตนไม่มีความรู้ และถือว่าโรงเรียนกับชาวบ้านทำหน้าที่แตกต่างกัน 3) ในด้านครูใหญ่และการบริหารโรงเรียน ครูใหญ่มีบุคลิกภาพเอาใจใส่ต่อการทำงาน สามารถสร้างผลงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ครูในโรงเรียนและชาวบ้านศรัทธาในตัวครูใหญ่ แต่ครูใหญ่มักมีพฤติกรรมบริหารงานโดยยึดถือเอาความคิดเห็นส่วนตัวเป็นหลัก มีอคติกับครูบางคนในโรงเรียน ไม่เน้นงานวิชาการแต่เน้นอาคารสถานที่ ขาดการนิเทศงานอย่างเป็นระบบ ทำให้การบริหารงานในระยะหลังๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 4) ในด้านครูและการเรียนการสอน ครูที่ทำการสอนมานานจะมีอิทธิพลในด้านความคิดและการปฏิบัติงานกับครูใหม่ ครูส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึกในการพัฒนาตนเองในด้านวิชาการ มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ขาดขวัญและกำลังใจ มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ในโรงเรียน ทำให้การบริหารงานในโรงเรียนไม่ราบรื่น ในขณะที่ครูมีพฤติกรรมไม่เตรียมการสอน สอนไม่เต็มที่ เต็มหลักสูตรและเวลา ขาดเทคนิคในการสอน มีระบบการวัดและประเมินผลไม่ชัดเจน ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 5) ในด้านเด็กและผู้ปกครอง มีสภาพการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยทำให้เด็กมีภาวะทุโภชนาการ มีปัญหาการใช้ภาษาถิ่น ส่งผลต่อความเข้าใจและการเรียนรู้ภาษาในโรงเรียน ผู้ปกครองคาดหวังโรงเรียนในด้านการอ่านออกเขียนได้ และการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จ่ายเงินเพื่อการศึกษาน้อย ต้องการความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การเรียนส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน เด็กหนึ่งในสามมีปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณไม่คล่อง ผลสัมฤทธิ์ต่ำ เมื่อเทียบกับโรงเรียนในกลุ่มเดียวกัน |
บรรณานุกรม | : |
สุภา อินทร์มณี . (2542). คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชนบทยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภา อินทร์มณี . 2542. "คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชนบทยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภา อินทร์มณี . "คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชนบทยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. สุภา อินทร์มณี . คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชนบทยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|