ชื่อเรื่อง | : | โอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณียาบ้า |
นักวิจัย | : | ปัญญา ชะเอมเทศ |
คำค้น | : | ตำรวจ , ยาเสพติดกับอาชญากรรม , ยาบ้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุภาวดี มิตรสมหวัง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743468501 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9345 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การศึกษาเรื่อง โอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณียาบ้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเพื่อทราบข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับสภาพการกระทำผิดยาบ้าจากมุมมองของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ชัดเจน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมโอกาสในการกระทำผิดยาบ้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขกระบวนการทำงานของตำรวจเพื่อลดโอกาสในการกระทำผิดให้มากขึ้น และเพื่อนำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาพัฒนาเป็นยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามการเข้ามามีส่วนร่วมในการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในด้านอื่นๆ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าทีตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงและไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในเรื่องยาบ้า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดและประชาชนที่กระทำผิดในเรื่องยาบ้าซึ่งถูกจำคุกในเรือนจำในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีจำนวนรวมกัน 150 นาย การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการค้นคว้าจากเอกสารทั้งในประเทศและต่างประเทศและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทำการศึกษาภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถาม (Questionaires) รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) บุคคลที่ให้ข่าวสารสำคัญ สถิติที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบด้วยไคสแควร์ (Chi square) t-test และ f-test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสการกระทำผิดในเรื่องยาบ้าคืออัตราโทษในแต่ละข้อหาโอกาสที่จะถูกจับกุมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และถูกศาลตัดสินลงโทษตามที่บุคคลรับรู้ ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อโอกาสการกระทำผิดในเรื่องยาบ้า คือ หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละสายงาน กล่าวคือ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจรับรู้อัตราโทษที่จะกระทำผิดต่ำก็จะมีโอกาสในการกระทำผิดในเรื่องยาบ้าสูง ตรงกันข้าม หากรับรู้อัตราโทษที่จะกระทำผิดสูง โอกาสที่จะกระทำผิดในเรื่องยาบ้าจะต่ำหากเจ้าหน้าที่รับรู้โอกาสที่จะถูกจับกุม ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และถูกศาลตัดสินลงโทษต่ำ โอกาสในการกระทำความผิดในเรื่องยาบ้าสูง ตรงกันข้ามหากรับรู้โอกาสที่จะถูกจับกุม ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และถูกศาลตัดสินลงโทษสูง โอกาสในการกระทำความผิดในเรื่องยาบ้าก็จะต่ำ ในส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง ไม่ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่เกี่ยวข้องโดยตรง พบว่ามีผลต่อการมีโอกาสในการกระทำผิดในเรื่องยาบ้าไม่แตกต่าง นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังพบด้วยว่าโอกาสที่จะกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นอยู่กับความแพร่หลายของความคิดในแต่ละข้อหาและประสบการณ์ในอดีตด้วย |
บรรณานุกรม | : |
ปัญญา ชะเอมเทศ . (2543). โอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณียาบ้า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปัญญา ชะเอมเทศ . 2543. "โอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณียาบ้า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปัญญา ชะเอมเทศ . "โอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณียาบ้า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. ปัญญา ชะเอมเทศ . โอกาสในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณียาบ้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|