ชื่อเรื่อง | : | ภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ และการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน ของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน |
นักวิจัย | : | รุ่งรวี รัตนดำรงอักษร |
คำค้น | : | สื่อมวลชน , การเปิดรับสื่อมวลชน , เด็ก -- การดูแล , การเรียนรู้ทางสังคม , พฤติกรรมเบี่ยงเบน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746388681 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9342 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ การเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ และการเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวนและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในทางที่ผิดกฎหมาย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ที่เป็นเด็กและเยาวชนที่อยู่ในบ้านเมตตา บ้านกรุณา บ้านมุทิตา และบ้านปรานี ผลการศึกษาพบว่า 1. เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนส่วนมากมีภูมิหลังทางครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ เช่น บิดามารดาแยกทางกัน บิดามารดาหรือคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต บิดามีภรรยาหลายคน และการที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับบิดามารดา เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนส่วนมากมาจากครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ 2. เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนส่วนมากมาจากครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน (ร้อยละ 92.5) เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพยาเสพติด การทะเลาะวิวาท และกระทำผิดกฎหมาย รองลงมาเป็นครอบครัวที่มีการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (ร้อยละ 52.5) และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุมที่ลงโทษทางกาย (ร้อยละ 40) ตามลำดับ 3. การศึกษาการเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเปิดรับรายการละคร มากที่สุด รองลงมาเป็นรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ และรายการเกมส์โชว์ ตามลำดับ สำหรับแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์พบว่า มีการเปิดรับเพื่อฆ่าเวลามากที่สุด รองลงมาเป็นการเปิดรับเพื่อการพักผ่อนและความสนุกสนานเพื่อรับทราบข่าวสารและนำไปเป็นหัวข้อสนทนากับเพื่อน และเพื่อหลีกเลี่ยงสังคม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังชื่นชอบละครหรือภาพยนตร์แนววัยรุ่นมีปัญหากับครอบครัว ติดยาเสพติด และมีการต่อสู้กัน เนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกับชีวิตตนเอง และยังมีการเลียนแบบทั้งพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีของตัวละคร เช่น การกระทำผิดกฎหมาย การพูดจา การแต่งกาย และการรวมกลุ่มก่อความวุ่นวายต่างๆ 4. การศึกษาการเปิดรับและแรงจูงใจในการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนมีการเปิดรับรายการเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้น รองลงมาเป็นการเปิดรับเพื่อเรียนรู้ทักษะการกระทำผิดกฎหมาย เพื่อนำไปเป็นหัวข้อสนทนากับเพื่อน เพื่อรับทราบข่าวสารเพื่อป้องกันตัว และเปิดรับเนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชีวิตของตนเอง ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
รุ่งรวี รัตนดำรงอักษร . (2540). ภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ และการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน ของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งรวี รัตนดำรงอักษร . 2540. "ภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ และการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน ของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งรวี รัตนดำรงอักษร . "ภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ และการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน ของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. รุ่งรวี รัตนดำรงอักษร . ภูมิหลังทางครอบครัว กระบวนการสังคมกรณ์ และการเปิดรับรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีเชิงสืบสวน ของเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|