ชื่อเรื่อง | : | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล |
นักวิจัย | : | อุทิศา กมโล |
คำค้น | : | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ , ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ -- ภูมิศาสตร์ , องค์การบริหารส่วนตำบล , โครงสร้างข้อมูล (คอมพิวเตอร์) , การปกครองท้องถิ่น -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดุษฎี ชาญลิขิต , กฤษณพล วิชพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743347712 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9325 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 ข้อมูลและข่าวสารมีความสำคัญต่อหน่วยงานและองค์กรต่างๆ รวมทั้งกองบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงมหาดไทยที่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการดำเนินงาน การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์วิจัย และการนำเสนอข้อมูลของพื้นที่ ทำให้การตัดสินใจการบริหารงานและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ได้ทำง่ายขึ้น บาง อบต. อาจไม่มีข้อมูล หรือบาง อบต.อาจมีข้อมูลแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Landuse Map) ที่ไม่เป็นปัจจุบันทำให้การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยต้องใช้ทุนสูงและใช้ระยะเวลานาน การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ทำได้ยากและไม่ถูกต้องแม่นยำ อบต.หลายแห่งอาจมีแผนที่เชิงเลขแต่ยากต่อการเรียกใช้งาน เพราะแผนที่ประกอบด้วยแผ่นข้อมูล (Layer) หลายแผ่นที่จัดเก็บในรูปแบบที่ต่างกัน นอกจากนี้แผ่นข้อมูลบางแผ่นจะต้องใช้กับซอฟต์แวร์โดยเฉพาะเท่านั้น การศึกษานี้เป็นการออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบลดงละคร โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูก เช่น Arc/Info, MapInfo, Map Basic, Visual Basic และ Microsoft Access เพื่อสนับสนุนงานผู้ใช้ที่ขาดทักษะด้าน GIS ให้ทำงานสะดวกยิ่งขึ้น ในการดำเนินงานวิจัยผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเกี่ยวกับข้อมูลกราฟิกหรือข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการดิจิไทซ์รูปถ่ายดัดแก้ผ่านจอภาพโดยผ่านกระบวนการเรจิสเตอร์ค่าพิกัดท้องถิ่นแล้ว ส่วนที่สองเป็นข้อมูลลักษณะประจำซึ่งได้ทำการรวบรวม และออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ ส่วนสุดท้ายทำการออกแบบและเขียนโปรแกรมประยุกต์ทั้งในส่วนกราฟิก และส่วนข้อมูลลักษณะประจำ โดยเลือกออกแบบโครงสร้างรายการเลือกแบบดึงลง และพัฒนาหน้าจอภาพในลักษณะของส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้โดยการใช้คำสั่งจากแถบเครื่องมือ และ/หรือกล่องเครื่องมือผ่านจอภาพเพื่อผู้ใช้สามารถทำงานกับฐานข้อมูลได้ง่ายและช่วยให้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มากนัก |
บรรณานุกรม | : |
อุทิศา กมโล . (2542). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุทิศา กมโล . 2542. "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุทิศา กมโล . "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. อุทิศา กมโล . ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|