ชื่อเรื่อง | : | ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน |
นักวิจัย | : | จิราพร รักการ |
คำค้น | : | จิตเภท , ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เพ็ญพักตร์ อุทิศ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9148 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เปรียบเทียบภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว และ 2) เปรียบเทียบภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 30 คน ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติจากผู้ดูแลในครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเภท ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 21 วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ด้วยการจับคู่ (matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และแบบวัดการสนับสนุนทางสังคมแของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 5 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและแบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .93 และ .79 ตามลำดับ และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีค่าความเที่ยง KR-20 เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลองพบว่า ภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
บรรณานุกรม | : |
จิราพร รักการ . (2549). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิราพร รักการ . 2549. "ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิราพร รักการ . "ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. จิราพร รักการ . ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|