ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่งขับเคลื่อน 4 ล้อ : กรณีศึกษายานยนต์เสรีเอนกประสงค์ |
นักวิจัย | : | พงศธร คุ้มชนะ |
คำค้น | : | การกระจายการทำงานเชิงคุณภาพ , การควบคุมต้นทุนการผลิต , การจัดการผลิตภัณฑ์ , รถยนต์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741306342 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9131 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่องรวมถึง การลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่การทำงานเชิงคุณภาพ (QFD) ในการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าโดยการออกแบบสอบถาม จากการสำรวจพบว่า ปัจจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในการตัดสินใจซื้อรถในส่วนของผลิตภัณฑ์ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านรูปลักษณ์ และปัจจัยด้านสมรรถนะของรถ หลักจากนั้นได้ทำการจัดลำดับความสำคัญ ประเมินผลเปรียบเทียบกับคู่แข่ง แปลงเป็นกิจกรรมดำเนินงานในเชิงผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์และการจัดหาชิ้นส่วนภายในประเทศ กำหนดเป้าหมาย พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุง นำวิธีการทั้งหมดมาประกอบกันอยู่ในรูปเมตริกซ์ ในการศึกษาการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ ได้นำ DFMEA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องผลกระทบของข้อบกพร่อง กำหนดมาตรการในการควบคุม และคำนวณค่า RPN ในแต่ละชิ้นงานก่อนการปรับปรุง หลังจากนั้นจึงเสนอมาตรการในการแก้ไข คำนวณค่า RPN หลังการปรับปรุงพิจารณาเปรียบเทียบกับชิ้นงานก่อนการปรับปรุง ปรากฏว่าค่า RPN ที่คำนวณได้มีคะแนนต่ำกว่า 100 นั่นคือสามารถลดโอกาสในการเกิดข้อบกพร่องลงและได้ชิ้นงานที่ตอบสนองต่อความต้องการ การจัดหาชิ้นส่วนพบว่าจากการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อลดต้นทุนชิ้นส่วน สามารถลดต้นทุนลงได้ 21,450,744 บาทต่อปี ผลที่ได้จากากรวิจัยนี้ พบว่าการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์และการจัดหาชิ้นส่วนภายในประเทศเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้าเปรียบเทียบก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง จากการประเมินผลภาพรวมของระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์รถยานยนต์เสรีเอนกประสงค์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของทุกปัจจัยตกอยู่ในช่วงคะแนนระหว่าง 3.79 ถึง 4.39 นั่นคือ มีระดับความพึงพอใจดีถึงดีมาก ผลการประเมินนี้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับผลที่ได้จากการประเมินผลแต่ละชิ้นงานที่ได้ทำการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงสามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่งเสรีเอนกประสงค์ ทั้งในส่วนการออกแบบพัฒนาชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์และในส่วนการจัดทำการลดต้นทุนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า อันจะนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ได้ |
บรรณานุกรม | : |
พงศธร คุ้มชนะ . (2543). การพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่งขับเคลื่อน 4 ล้อ : กรณีศึกษายานยนต์เสรีเอนกประสงค์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงศธร คุ้มชนะ . 2543. "การพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่งขับเคลื่อน 4 ล้อ : กรณีศึกษายานยนต์เสรีเอนกประสงค์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงศธร คุ้มชนะ . "การพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่งขับเคลื่อน 4 ล้อ : กรณีศึกษายานยนต์เสรีเอนกประสงค์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. พงศธร คุ้มชนะ . การพัฒนาผลิตภัณฑ์รถยนต์นั่งขับเคลื่อน 4 ล้อ : กรณีศึกษายานยนต์เสรีเอนกประสงค์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|