ชื่อเรื่อง | : | การดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ |
นักวิจัย | : | สมชาติ เลิศลิขิตวรกุล |
คำค้น | : | คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ , ความผิดทางอาญา , ความผิด (กฎหมาย) , พยานหลักฐาน , การทุจริตและประพฤติมิชอบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มัทยา จิตติรัตน์ , จิรนิติ หะวานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743471901 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9127 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษากระบวนการในการดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการ ป.ป.ช. กับมุ่งวิเคราะห์กฎหมายที่ใช้บังคับว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ การวิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสารเป็นหลัก โดยนำข้อมูลที่ได้มาพิเคราะห์เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเป็นการยืนยันตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ พร้อมกับเสนอแนวทางแก้ปัญหา อันจะเป็นประโยชน์แก่การแก้ไขกฎหมายในโอกาสต่อไป ผลการวิจัยพบว่ากฎหมายที่ใช้บังคับยังขาดความสมบูรณ์ บทบัญญัติในกฎหมายบางเรื่องเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินคดี และมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะที่กฎหมายกำหนดว่า ก่อนนำคดีมาสู่ศาลจะต้องมีการเข้าชื่อร้องขอ จากสมาชิกรัฐสภาก่อนหรือการห้ามมิให้กรรมการ ป.ป.ช. ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้น จนกว่าจะมีคำพิพากษาให้ยกคำร้อง หรือการที่กำหนดให้องค์คณะผู้พิพากษา เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวน เพื่อทำหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริง และทำความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีตามคำร้องขอ ก่อนส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ตลอดจนการกำหนดให้อัยการสูงสุดต้องฟ้องคดีตามมติของ คณะกรรมการไต่สวนไม่สามารถใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นนั้น ซึ่งตามกรณีดังกล่าวผู้วิจัยได้เสนอมาตรการกำหนดแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละกรณีดังนี้ ให้สิทธิแก่ผู้เสียหายจากการกระทำของกรรมการ ป.ป.ช. สามารถยื่นข้อร้องเรียนแก่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อให้มีการดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการ ป.ป.ช. ได้ นอกเหนือจากการเข้าชื่อร้องขอจากสมาชิกรัฐสภา โดยให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าไต่สวนข้อเท็จจริง และทำความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีดังกล่าว ก่อนที่จะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาว่า สมควรจะฟ้องกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ใดต่อศาลฎีกาฯ หรือไม่ ในกรณีที่อัยการสูงสุดไม่เห็นด้วยกับมติของ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่เห็นควรฟ้องคดี ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาก็มีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีเองได้ หรืออาจแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทนก็ได้ เมื่อมีการฟ้องกรรมการ ป.ป.ช. ต่อศาล หากศาลฎีกาฯ ยังมิได้มีคำพิพากษาว่ากระทำผิด และพิพากษาให้จำคุกแล้ว กรรมการ ป.ป.ช. ผู้นั้นก็ชอบ ที่จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่อไปได้ เว้นเสียแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หรือเมื่อต้องเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้กรรมการ ป.ป.ช. สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดได้ต่อไป อันจะทำให้การทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐดำเนินต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ |
บรรณานุกรม | : |
สมชาติ เลิศลิขิตวรกุล . (2543). การดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมชาติ เลิศลิขิตวรกุล . 2543. "การดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมชาติ เลิศลิขิตวรกุล . "การดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. สมชาติ เลิศลิขิตวรกุล . การดำเนินคดีอาญาต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|