ชื่อเรื่อง | : | ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลับเทปแห่งหนึ่ง |
นักวิจัย | : | ดารารัตน์ เตชะกมลสุข |
คำค้น | : | เออร์โกโนมิกส์ , ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก -- โรค , กำลังกล้ามเนื้อ , ความเจ็บปวด , กระดูกและข้ออักเสบ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล , สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743466002 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9046 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 อาการปวด/ปวดเมื่อยเป็นอาการที่พบแรกเริ่มเมื่อมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระดูก และข้อซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานในสภาพแวดล้อมหรือสภาพการทำงานที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความผิดปกตินั้น โดยความผิดปกติดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาที่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง และระบบสาธารณสุขโดยรวม จากค่ารักษาพยาบาล การสูญเสียเวลาในการทำงาน และค่าชดเชยการเจ็บป่วยจากการทำงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอัตราความชุกของอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด/ปวดเมื่อยกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คุณลักษณะบุคคล ปัจจัยจิตวิทยาสังคม ปัจจัยสภาพแวดล้อมในงาน ปัจจัยการจัดรูปงาน และการจัดองค์กรการทำงาน และปัจจัยท่าทางการเคลื่อนไหวในงาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานสายงานผลิตโรงงานตลับเทป 1 แห่ง ส่งแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ตอบด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 314 ฉบับ จากทั้งหมด 342 ฉบับ (91.8%) และใช้การสังเกตที่งานพิจารณาท่าทางการเคลื่อนไหวในงาน โดยผู้สังเกตที่ได้รับการฝึกอบรม 4 คน แบบสอบถามที่ตอบกลับมีความสมบูรณ์ใช้วิเคราะห์ได้ร้อยละ 96.8 (304 ฉบับ) จากแบบสอบถาม 314 ฉบับ เป็นเพศชาย 29 คน เพศหญิง 275 คน (ชาย:หญิง = 1:9) ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของอาการปวด/ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างน้อย 1 จุดใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับ 85.9 ต่อ 100 ประชากร (95% CI:82, 89.8) โดยมีอาการปวด/ปวดเมื่อยมากที่สุดที่บริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 24.9 หลังส่วนบน ร้อยละ 14.2 และไหล่ร้อยละ 13.4 ในรอบระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา มีอาการปวดที่บริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 39.1, ไหล่ร้อยละ 36.2 และหลังส่วนบนร้อยละ 35.2 และอาการปวด/ปวดเมื่อยมีความสัมพันธ์กับความพอใจในงาน, สภาพแวดล้อมในงานและการจัดรูปงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่น การนั่งเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง, ความเร็วที่มากเกินไปในการทำงานและท่าทางการทำงานที่มีการขยับข้อมือบ่อยๆ และมีการก้มคอบ่อยครั้ง นอกจากนี้การทำงานที่อยู่ในท่าทางการนั่งหลังตรง หรือนั่งก้มหลังมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั่วโมงต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวด/ปวดเมื่อยที่บริเวณหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value<0.05 ในขณะที่อาการปวด/ปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนบนมีความสัมพันธ์กับการทำงานในท่าทางนั่งก้มหลังเป็นระยะเวลาเท่ากับ หรือมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันเช่นกัน จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบถึงขนาดของปัญหาและปัจจัยเกี่ยวข้องนำมาใช้ในการปรับปรุงสภาพการทำงานโดยใช้ต้นทุนต่ำหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยเพื่อสุขภาพที่ดีของคนงานได้ |
บรรณานุกรม | : |
ดารารัตน์ เตชะกมลสุข . (2543). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลับเทปแห่งหนึ่ง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดารารัตน์ เตชะกมลสุข . 2543. "ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลับเทปแห่งหนึ่ง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดารารัตน์ เตชะกมลสุข . "ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลับเทปแห่งหนึ่ง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. ดารารัตน์ เตชะกมลสุข . ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลับเทปแห่งหนึ่ง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|