ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย |
นักวิจัย | : | หรรษา สุขกาล |
คำค้น | : | ความร่วมมือทางการศึกษา , จริยธรรม , นักศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรชุลี อาชวอำรุง , ศิริพร ตันติพูลวินัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743472029 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9028 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษา และพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษาหรือผู้รับผิดชอบการจัดโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียน 15 คน สร้างเกณฑ์ที่เหมาะสมของรูปแบบโปรแกรมและต้นร่างรูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษา ทดสอบรูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาคนไทย วิทยาลัยมิชชั่น ปีการศึกษา 2543 ซึ่งทำงานในโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียน จนสิ้นสุดภาคการศึกษา จำนวน 46 คน ผลการวิจัย พบว่า เกณฑ์ที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษา ประกอบด้วย 1) เป็นโปรแกรมที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินแก่นักศึกษา 2) เป็นโปรแกรมที่จัดให้นักศึกษาทำงานบางเวลาในช่วงที่ว่างจากการเรียน 3) เป็นโปรแกรมที่จัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดโปรแกรมและหน่วยงานที่รับนักศึกษาทำงาน 4) เป็นโปรแกรมที่จัดโดยสถาบันอุดมศึกษา ทำหน้าที่ดังนี้ (ก) เตรียมความพร้อมสถาบัน โดยการประเมินสภาพแวดล้อมของสถาบัน (ข) วางแผนการจัดโปรแกรม โดยเตรียมผู้ประสานงานโปรแกรมที่มีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาชี้แนะด้านจริยธรรมในการทำงาน (ค) ดำเนินงานโปรแกรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงาน โดยการจัดประสบการณ์ตรงและประสบการณ์อ้อมด้านจริยธรรมในการทำงานให้กับนักศึกษา 5) เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วย ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม 5 ขั้นตอน รูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาประกอบด้วย 1) การประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมสถาบัน 2) การวางแผนการจัดโปรแกรม 3) การดำเนินงานโปรแกรม 4) การประเมินหลังจบโปรแกรม 5) การตัดสินใจเชิงบริหาร รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษา โดยพบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยจริยธรรมในการทำงานด้านความซื่อสัตย์ การยึดมั่นในหลักการ การรักษาสัญญา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
หรรษา สุขกาล . (2543). การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หรรษา สุขกาล . 2543. "การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หรรษา สุขกาล . "การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. หรรษา สุขกาล . การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการทำงานระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมในการทำงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|