ชื่อเรื่อง | : | หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน |
นักวิจัย | : | เทพี จรัสจรุงเกียรติ |
คำค้น | : | ภาษาไทย -- ประวัติ , ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง , เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743467262 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8965 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษาหน้าที่และความสัมพันธ์ทางความหมายของหน่วยเชื่อมโยง ในปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาวิวัฒนาการของหน่วยเชื่อมโยงโดยใช้ข้อมูลจากเอกสาร ที่ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วของแต่ละสมัย ผลการวิจัยพบว่าหน่วยเชื่อมโยงในปริจเฉทภาษาไทยจำแนกตามหน้าที่ได้ 2 ประเภท คือ หน่วยเชื่อมโยงจุลภาคและหน่วยเชื่อมโยงมหภาค หน่วยเชื่อมโยงจุลภาคจำแนกประเภททางอรรถศาสตร์ได้ทั้งหมด 13 ประเภท คือ แสดงความขัดแย้ง แสดงเงื่อนไข แสดงการคาดคะเนหรือสมมุติ แสดงทางเลือก แสดงการเสริม แสดงเวลา แสดงเหตุ แสดงวัตถุประสงค์และผล แสดงการเปรียบเทียบ แสดงตัวอย่าง แสดงการขยายความ แสดงการสรุปความ และแสดงวิธีการ ส่วนหน่วยเชื่อมโยงมหภาคจำแนกประเภททางอรรถศาสตร์ได้ทั้งหมด 6 ประเภท คือ บอกการเปลี่ยนประเด็น บอกการเพิ่มความ บอกการแจกแจงความ บอกการสรุปความ บอกความเป็นเหตุเป็นผล และบอกความขัดแย้ง ข้อมูลสมัยสุโขทัยประกอบด้วยปริจเฉท 2 ประเภทคือ นิทานปริจเฉทและปฏิบัติปริจเฉทพบหน่วยเชื่อมโยงทั้งหมด 50 หน่วยเชื่อมโยง จำแนกเป็นหน่วยเชื่อมโยงจุลภาค 11 ประเภท คือ แสดงความขัดแย้ง แสดงเงื่อนไข แสดงการคาดคะเนหรือสมมุติ แสดงการเสริม แสดงเวลา แสดงเหตุ แสดงวัตถุประสงค์และผล แสดงการเปรียบเทียบ แสดงตัวอย่าง แสดงการขยายความและแสดงวิธีการ จำแนกเป็นหน่วยเชื่อมโยงมหภาค 2 ประเภท คือ บอกการเปลี่ยนประเด็นและบอกการแจกแจงความ ข้อมูลสมัยอยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นประกอบด้วยปริจเฉท 4 ประเภทคือนิทานปริจเฉท ปฏิบัติปริจเฉท ปราศรัยปริจเฉทและทัศนปริจเฉท พบหน่วยเชื่อมโยงทั้งหมด 90 หน่วยเชื่อมโยง จำแนกเป็นหน่วยเชื่อมโยงจุลภาค 12 ประเภท คือ แสดงความขัดแย้ง แสดงเงื่อนไข แสดงการคาดคะเนหรือสมมุติ แสดงการเสริม แสดงเวลา แสดงเหตุ แสดงผลและวัตถุประสงค์ แสดงการเปรียบเทียบ แสดงการขยายความ และแสดงวิธีการ จำแนกเป็นหน่วยเชื่อมโยงมหภาค 4 ประเภท คือ บอกการเปลี่ยนประเด็น บอกการเพิ่มความ บอกการแจกแจงความ และบอกความเป็นเหตุเป็นผล ข้อมูลสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาเป็นปริจเฉท 4 ประเภทคือนิทานปริจเฉท ปฏิบัติปริจเฉท ปราศรัยปริจเฉทและทัศนปริจเฉท พบหน่วยเชื่อมโยงทั้งหมด 198 หน่วยเชื่อมโยง จำแนกเป็นหน่วยเชื่อมโยงจุลภาคทั้งหมด 13 ประเภท คือ แสดงความขัดแย้ง แสดงเงื่อนไข แสดงการคาดคะเนหรือสมมุติ แสดงทางเลือก แสดงการเสริม แสดงเวลา แสดงเหตุ แสดงผลและวัตถุประสงค์ แสดงการเปรียบเทียบ แสดงตัวอย่าง แสดงการขยายความ แสดงการสรุปความ และแสดงวิธีการ จำแนกเป็นหน่วยเชื่อมโยงมหภาคทั้งหมด 6 ประเภท คือ บอกการเปลี่ยนแปลงประเด็น บอกการเพิ่มความ บอกการแจกแจงความ บอกการสรุปความ บอกความเป็นเหตุผล และบอกความขัดแย้ง จากการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของหน่วยเชื่อมโยงทั้งหมด 4 ด้าน คือ จำนวน ขนาด และรูป หน้าที่และความหมาย จะพบว่า หน่วยเชื่อมโยงมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของจำนวนและขนาดมากที่สุด เพื่อให้สามารถแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น ในขณะที่เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางความหมายของหน่วยเชื่อมโยงแต่ละหน่วยเชื่อมโยงมีเพียง 6 หน่วยเชื่อมโยงเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง คือ ด้วย ต่อ แต่ เท่า เพื่อ หาก หากแต่การเพิ่มขึ้นของหน่วยเชื่อมโยงในแต่ละประเภททางอรรถศาสตร์กลับมากขึ้นทั้งหน่วยเชื่อมโยงจุลภาคและมหภาค มีหน่วยเชื่อมโยงระดับจุลภาคที่แสดงวิธีการเท่านั้นที่มีจำนวนหน่วยเชื่อมลดลง 1 หน่วยเชื่อโยง |
บรรณานุกรม | : |
เทพี จรัสจรุงเกียรติ . (2543). หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทพี จรัสจรุงเกียรติ . 2543. "หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เทพี จรัสจรุงเกียรติ . "หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. เทพี จรัสจรุงเกียรติ . หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|