ชื่อเรื่อง | : | การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออน |
นักวิจัย | : | ทำนบ พรหมมูล |
คำค้น | : | แคลเซียมคลอไรด์ , เรซินแลกเปลี่ยนไอออน , น้ำเสีย -- การบำบัด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุรา ปานเจริญ , มนตรี บุญลอย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9027 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออนนี้ เป็นการนำเอาเครื่องแลกเปลี่ยนไอออนที่เคยใช้งานในระบบการผลิตน้ำ Deionization ของกระบวนการชุบโลหะ และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ทำให้ต้องหยุดการเดินเครื่องแลกเปลี่ยนไอออน ดังนั้นเพื่อเป็นการใช้เครื่องเก่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด แผนกบำบัดน้ำทิ้ง ฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาโรงงาน บริษัทมินีแบไทย จำกัด สาขาโรจนะ จึงได้นำเอาเครื่องแลกเปลี่ยนไอออนที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใช้กับระบบบำบัดน้ำทิ้ง โดยการนำน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองอัดฟิลเตอร์เพรส แยกน้ำออกจากตะกอน ซึ่งเป็นน้ำที่ผ่านการเติมสารเคมีมาแล้ว และมีสารละลายแคลเซียมอยู่ในน้ำมาก ทั้งนี้ก็เนื่องจากในกระบวนการบำบัดน้ำทิ้ง มีการใช้สารแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ที่เป็นชนิดผงในปริมาณมาก และทำให้มีฝุ่นฟุ้งกระจาย เมื่อให้น้ำที่ผ่านการกรองอัดเอาตะกอนออกไปแล้ว ส่งไปเข้าเครื่องแลกเปลี่ยนไอออน เม็ดเรซินประจุบวกที่บรรจุอยู่ในหอเรซินจะดูดซับไอออนบวกในน้ำไว้ ซึ่งจะมีประจุบวกแคลเซียม (Ca2+) และจะปลดปล่อยไฮโดรเจน (H+) ออกมาแทน เมื่อเรซินประจุบวกถูกแลกเปลี่ยนไฮโดรเจนไอออนจนหมดแล้ว จะไม่สามารถแลกเปลี่ยนประจุได้อีก ต้องทำการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนให้กลับไปอยู่ในรูปไฮโดรเจนตามเดิม โดยการใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริกที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วให้ไหลผ่านและสัมผัสกับเม็ดเรซิน สำหรับน้ำทิ้งที่ไหลผ่านชั้นเรซินออกมาแล้วนั้น ก็จะมีส่วนประกอบของสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ละลายอยู่เป็นส่วนมาก และสามารถที่จะนำกลับไปใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำทิ้งได้อีก โดยนำไปใช้เป็นสารช่วยตกตะกอนร่วมกับการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เพื่อปรับค่าพีเอช และนอกจากนี้ยังพบว่า การใช้แคลเซียมคลอไรด์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีลดลงได้และสามารถทดแทนการใช้ผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ได้ดี รวมไปถึงความสามารถในการตกตะกอนสารเคมีที่เป็นพิษในน้ำทิ้งได้เช่นเดียวกับการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ |
บรรณานุกรม | : |
ทำนบ พรหมมูล . (2543). การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทำนบ พรหมมูล . 2543. "การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทำนบ พรหมมูล . "การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. ทำนบ พรหมมูล . การนำแคลเซียมคลอไรด์กลับมาใช้โดยการฟื้นสภาพเรซินแลกเปลี่ยนไอออน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|