ชื่อเรื่อง | : | ภูมิหลังของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง |
นักวิจัย | : | พจนีย์ ไชวาริล |
คำค้น | : | วุฒิสมาชิก -- การเลือกตั้ง , วุฒิสภา , วุฒิสมาชิก , การจูงใจ (จิตวิทยา) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9016 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษาถึงภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ และแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 264 คน ที่มีการเลือกตั้งในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 การเก็บข้อมูลในด้านภูมิหลังของผู้สมัคร ใช้ข้อมูลจากใบสมัครเอกสารแนะนำตัว จากการสัมภาษณ์ และจากแหล่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับในด้านแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้สมัครจำนวนหนึ่ง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลางจากกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีข้อสมมุติฐานสองประการคือ ประการแรก ผู้สมัครส่วนมากมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูง เป็นผู้ประสบความสำเร็จสูงในหน้าที่การงาน และประการที่สอง ผู้สมัครส่วนมากมีแรงจูงใจในด้านชื่อเสียงเกียรติยศเป็นหลัก ผลการศึกษาทางด้านภูมิหลังพบว่า ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นผู้มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมสูง และดำรงตำแหน่งสูงในหน่วยงานต่างๆ สอดคล้องกับสมมุติฐานประการแรก ส่วนการศึกษาในด้านแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้งพบว่า มีแรงจูงใจหลัก 4 ประเภทคือ (1) แสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ พบว่า ผู้สมัครที่มีแรงจูงใจประเภทนี้เห็นว่า วุฒิสภาเป็นสภาอันทรงเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง (2) ความสำนึกในหน้าที่ของพลเมืองเป็นความต้องการ ที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (3) แสวงหาอำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือกลุ่ม เป็นความต้องการที่จะเข้าไปเป็นตัวแทนของกลุ่ม ที่ตนเองทำงานหรือมีความผูกพันอยู่ด้วย หรือหาประโยชน์อื่นๆ (4) ความคลั่งไคล้ทางการเมืองเป็นความต้องการที่จะมีส่วนร่วม ในการลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ โดยรู้ดีกว่าตนเองจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ทั้งนี้ผู้สมัครส่วนใหญ่มีแรงจูงใจ ในการแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศเป็นหลัก สอดคล้องกับสมมุติฐานประการที่สอง |
บรรณานุกรม | : |
พจนีย์ ไชวาริล . (2543). ภูมิหลังของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พจนีย์ ไชวาริล . 2543. "ภูมิหลังของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พจนีย์ ไชวาริล . "ภูมิหลังของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. พจนีย์ ไชวาริล . ภูมิหลังของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และแรงจูงใจในการลงสมัครรับเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|