ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาติดตามการใช้หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี |
นักวิจัย | : | พนัส จันทร์เปล่ง |
คำค้น | : | การศึกษาขั้นพื้นฐาน , ครู -- หลักสูตร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เอมอร จังศิริพรปกรณ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8798 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด ปรัชญา ที่ส่งผลต่อการออกแบบหลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี 2) เพื่อติดตามกระบวนการ และผลการใช้ หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังต่อไปนี้ 2.1) เพื่อศึกษากระบวนการ ปัญหาอุปสรรคการใช้หลักสูตร 2.2) เพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาที่ได้รับทุน และ 2.3) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้หลักสูตรระหว่างสถานภาพผู้ให้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างและผลิตหลักสูตร และผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างหลักสูตร จำนวน 9 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารจากสถาบัน อุดมศึกษา จำนวน 13 ท่าน และนักศึกษาที่เป็นตัวแทนจากทั้ง 6 สถาบันอุดมศึกษา และกลุ่มที่ 3 ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์จำนวน 2 ชุด และแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษา ขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี เกิดจากความต้องการที่จะพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่สำคัญตาม พระราชบัญญัติสำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาครูจำเป็นต้องมีการฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงมีการให้ทุนสำหรับนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาต่อประกอบไปด้วย 8 สาขาและมีการบรรจุผู้สำเร็จ การศึกษา 2. กระบวนการใช้หลักสูตร 5 ปี จากการศึกษาปัญหาอุปสรรคในการใช้หลักสูตรพบความ แตกต่างกันระหว่าง กลุ่มที่มีการสอนเป็นรายวิชาและกุล่มที่มีการสอนเป็นชุดวิชา และกลุ่มที่มีการสอนเป็น ชุดวิชาได้มีการพัฒนาหลักสูตรกลับมาเป็นการสอนเช่นเดียวกับกลุ่มที่มีการสอนเป็นรายวิชา 3. ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา มีความสอดคล้องกันว่าความคาดหวังกับสภาพที่เป็นจริง มีความแตกกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การตัดสินคุณค่าการติดตามผลการใช้หลักสูตรจากทั้งหมด 56 ข้อ กลุ่มที่มี การสอนเป็นรายวิชาที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 24 ข้อ และกลุ่มที่มีการสอนเป็นชุดวิชาผ่านตาม เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมด 20 ข้อ การเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรระหว่างสถานภาพด้านที่มีความแตกต่างกัน คือด้านความเหมาะสมของเนื้อหา และปัจจัยสนับสนุน พบว่าอาจารย์กับนักศึกษามีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภูมิหลังของนักศึกษา พบว่าผู้บริหารกับนักศึกษามีค่าเฉลี่ยที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
พนัส จันทร์เปล่ง . (2549). การศึกษาติดตามการใช้หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนัส จันทร์เปล่ง . 2549. "การศึกษาติดตามการใช้หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนัส จันทร์เปล่ง . "การศึกษาติดตามการใช้หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. พนัส จันทร์เปล่ง . การศึกษาติดตามการใช้หลักสูตร 5 ปี ตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|