ชื่อเรื่อง | : | ความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ |
นักวิจัย | : | นฤมล กิจไพศาลรัตนา |
คำค้น | : | การประเมินผลทางการศึกษา -- ไทย , การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | ข่าวสารห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 22,1(ม.ค.-มิ.ย. 2549),33-51 , 0857-8230 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8576 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินผลความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ทั้งการเรียนในชั้นเรียนรวมที่มีการสอน 8 หัวข้อได้แก่ หัวข้อการค้นคว้า การฟังและจดบันทึก การอ่าน การคิด การอ้างอิงเอกสาร การเขียน การนำเสนอ และการวิจารณ์และแสดงความคิดเห็น และการเรียนในชั้นเรียนย่อย โดยทั้งการเรียนในชั้นเรียนรวมและชั้นเรียนย่อยดังกล่าว ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดในด้านอาจารย์ผู้สอน เนื้อหาวิชา วิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล โดยใช้ระดับความพึงพอใจ 1-5 เป็นเกณฑ์ในการประเมินกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 227 คน โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 216 ชุดหรือคิดเป็นร้อยละ 95.15 ของประชากรทั้งหมดการประเมินผลความพึงพอใจครั้งนี้ใช้วิธีการทางสถิติโดยประเมินตามระดับคะแนนความพึงพอใจที่นิสิตตอบในแบบสอบถาม และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for Social Science for Windows) ผลจากการวิจัยพบว่า 1. โดยรวมนิสิตร้อยละ 50.00 พึงพอใจการเรียนการสอนวิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์ ระดับปานกลาง 2. นิสิตพึงพอใจการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวมและชั้นเรียนย่อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ โดยร้อยละ 59.26 พึงพอใจการเรียนในชั้นเรียนรวมระดับปานกลาง และร้อยละ 46.76 พึงพอใจการ เรียนในชั้นเรียนย่อยระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดหัวข้อวิชาที่เรียนในชั้นเรียนรวมพบว่า นิสิตพึงพอใจ ทั้ง 8 หัวข้อในระดับมาก ได้แก่ หัวข้อการค้นคว้า การฟังและจดบันทึก การอ่าน การคิด การอ้างอิงเอกสาร การเขียน การนำเสนอ และการวิจารณ์และแสดงความคิดเห็น และเมื่อพิจารณารายด้านได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอนเนื้อหาวิชา วิธีการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล พบว่านิสิตพึงพอใจเกือบทุกด้านระดับมาก ยกเว้นด้านการวัดและประเมินผลที่นิสิตพึงพอใจระดับปานกลาง 3. นิสิตภาควิชาการปกครอง ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พึงพอใจการเรียนการสอนวิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนิสิตภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพึงพอใจการเรียนการสอนวิชานี้ระดับมาก ในขณะที่นิสิตอีก 3 ภาควิชาพึงพอใจการเรียนการสอนวิชานี้ระดับปานกลาง |
บรรณานุกรม | : |
นฤมล กิจไพศาลรัตนา . (2549). ความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นฤมล กิจไพศาลรัตนา . 2549. "ความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นฤมล กิจไพศาลรัตนา . "ความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. นฤมล กิจไพศาลรัตนา . ความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทักษะการค้นคว้าทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|