ชื่อเรื่อง | : | ปัญหาทางกฎมายในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์ในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | นนทพัทธ์ อัศวก้องเกียรติ |
คำค้น | : | เทคโนโลยีชีวภาพจุลชีพ -- ไทย , เทคโนโลยีชีวภาพจุลชีพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ , จุลินทรีย์ , การจัดการทรัพยากรชีวภาพ , ความหลากหลายทางชีวภาพ , ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรพรรณ พนัสพัฒนา , ธนิต ชังถาวร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2549 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8408 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากทรัพยากรชีวภาพจำพวกพืชและสัตว์ ตลอดจนคุณประโยชน์ของจุลินทรีย์ที่มีต่อประเทศ ควบคู่ไปกับการศึกษากฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ กรณีศึกษา และมาตรการของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรจำพวกจุลินทรีย์ จากการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์การเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์ในประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพและขาดความชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาอยู่สองกรณี คือ ปัญหาทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายหรือระเบียบที่คุ้มครองจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 (แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2544) พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2543 (แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2548) กฎหมายและระเบียบดังกล่าวล้วนแต่เป็นกฎหมายที่ไม่สามารถคุ้มครองครอบคลุมถึงจุลินทรีย์ทุกชนิด และมิได้มีวัตถุประสงค์หลักในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์โดยเฉพาะ อีกทั้งกฎหมายบางฉบับก็มิได้มีหลักการควบคุมการเข้าถึงตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าถึงก็ไม่ชัดเจน เกิดปัญหาความกระจัดกระจาย และความซ้ำซ้อนทางกฎหมาย อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายก็ยังขาดประสิทธิภาพ ส่วนปัญหาในทางปฏิบัติเกิดขึ้นเนื่องจากจุลินทรีย์เป็นทรัพยากรที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การควบคุมการเข้าถึงจึงกระทำได้ยาก รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถขาดแคลนงบประมาณ ขาดการตระหนักถึงความสำคัญของจุลินทรีย์และขาดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนมาตรการการใช้สัญญาถ่ายโอนวัสดุชีวภาพเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมการเข้าถึงที่สามารถกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้อย่างชัดเจนตามความต้องการของคู่สัญญา แต่จะมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น และยังขาดกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำที่จะต้องกำหนดไว้ในสัญญา ก่อให้เกิดความแตกต่างกันในมาตรฐานของสัญญาในแต่ละหน่วยงานได้ การเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์จึงต้องมีกฎหมายเฉพาะที่ชัดเจนเพื่อบัญญัติควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรจุลินทรีย์ทุกชนิด เพื่อให้หลักเกณฑ์การเข้าถึงมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ |
บรรณานุกรม | : |
นนทพัทธ์ อัศวก้องเกียรติ . (2549). ปัญหาทางกฎมายในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์ในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นนทพัทธ์ อัศวก้องเกียรติ . 2549. "ปัญหาทางกฎมายในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์ในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นนทพัทธ์ อัศวก้องเกียรติ . "ปัญหาทางกฎมายในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์ในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. Print. นนทพัทธ์ อัศวก้องเกียรติ . ปัญหาทางกฎมายในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจำพวกจุลินทรีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
|