ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวิธีวิเคราะห์จำแนก กับวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก : กรณีศึกษาตัวแปรจำแนก วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา |
นักวิจัย | : | พัชรี เพ็งประโคน |
คำค้น | : | การวิเคราะห์การจำแนกประเภท , การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณา ปูรณโชติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746336827 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7890 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวิธีวิเคราะห์จำแนกกับวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก โดยใช้ตัวแปรจำแนกวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาเป็นเนื้อหาในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 1,056 คน จาก มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร 7 สถาบัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามวัดตัวแปรด้านภูมิหลัง ด้านสถาบันการศึกษา และด้านคุณลักษณะของนิสิตนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์จำแนกและวิธีการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์จำแนกได้ตัวแปรจำแนกที่มีความสำคัญในการจำแนกกลุ่มตามลำดับดังนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเปิดรับสื่อสารมวลชน บรรยากาศในชั้นเรียน 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก ได้ตัวแปรที่มีผลต่อการมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาตามลำดับดังนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเปิดรับสื่อสารมวลชน บรรยากาศในชั้นเรียน นิสิตนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ บุคลิกภาพ บิดาทำงานในบริษัทเอกชน 3. ฟังก์ชั่นที่ได้จากวิธีวิเคราะห์จำแนกสามารถอธิบายความแปรปรวนของกลุ่มได้ร้อยละ 43.33859 มีประสิทธิภาพในการจัดกลุ่มได้ร้อยละ 82.92 ส่วนฟังก์ชั่นที่ได้จากวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก สามารถอธิบายความแปรปรวนของการมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยได้ร้อยละ 42.6265 และมีประสิทธิภาพในการจัดกลุ่มร้อยละ 82.21 จะเห็นได้ว่าฟังก์ชันที่ได้จากวิธีวิเคราะห์จำแนก สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ดีกว่าฟังก์ชั่นที่ได้จากวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกเล็กน้อย ส่วนประสิทธิภาพในการจัดกลุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
บรรณานุกรม | : |
พัชรี เพ็งประโคน . (2539). การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวิธีวิเคราะห์จำแนก กับวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก : กรณีศึกษาตัวแปรจำแนก วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชรี เพ็งประโคน . 2539. "การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวิธีวิเคราะห์จำแนก กับวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก : กรณีศึกษาตัวแปรจำแนก วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัชรี เพ็งประโคน . "การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวิธีวิเคราะห์จำแนก กับวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก : กรณีศึกษาตัวแปรจำแนก วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. พัชรี เพ็งประโคน . การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวิธีวิเคราะห์จำแนก กับวิธีวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก : กรณีศึกษาตัวแปรจำแนก วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|